โดยท่าฟ้อนมีด้งนี้ ของ ฟ้อนร่มฟ้าไท-ยวน

  1. นบน้อมวันทา เกศากราบเกล้า แนบเนาพสุธา (สื่อถึงตนไท-ยวนมีความอ่อนน้อมถ่อมตน)
  2. เตรียมท่าตั้งล้อ (คือการเตรียมล้อเพื่อรอปั่นฝ้าย)
  3. เตรียมทอไว้ถ้า (คือการเตรียมทอไว้ทอผ้า)
  4. เข้าป่าโยกย้าย (บอกถึงคนไท-ยวนมักปลูกฝ้ายตามป่าและหญิงไท-ยวนออกชวนกันออกเดินทางไปเก็บฝ้ายในป่าเป็นกลุ่ม)
  5. เก็บฝ้ายใส่บุง (เมื่อเก็บฝ้ายได้มักเอากระบุงไปใส่)
  6. เต็มถุงเต็มซ้า (เมื่อได้ฝ้ายมากพอก็จะเอากลับมาที่บ้าน)
  7. กำมาตากแดด (จากนั้นก็เอฝ้านที่เก็บได้มาตากแดดให้แห้ง)
  8. ฮีตฝ้ายหื้อแตก (หมายถึงการรีดฝ่ายให้ฟูเพื่อเครียมไหปั่นฝ้าย)
  9. แยกขึงเป็นยาววา (หมายถึงเมื่อได้ไหมฝ้ายเป็นเส้นก็จะขึงให้ไหมฝ้านออกเป็นเส้น)
  10. เอามาสาวไหม (หมายถึงการเอาไหมฝ้ายมาม้วนให้กลุ่มก้อนนำไปย้อมสี)
  11. กวาดไกวย้อมสี (แสดงถึงภูมิปัญญาของชาวไท-ยวนในอดีตที่เอาสีธรรมชาติมาย้อมไหมฝ้าย)
  12. กระตุกกี่ตอผ้า (เมื่อได้สีที่ต้องการก็นำไปทอเป็นผืนผ้าและสื่อให้เห็นว่าชาวไท-ยวนในอดีตทอผ้าใช้เอง)
  13. ได้ผ้าผืนงาม (เมื่อทอแล้วก็ได้ผ้าอันงดงานฉบับไท-ยวนไม่ว่าจะผ้าลายขวาง)
  14. นำมาเย็บปลาย (สื่อถึงเมื่อได้ผ้าลวดลายงดงานก็จะเอามเย็บบริเวณปลายผ้าเพื่อไม่ให้ไหมฝ้ายหลุดออกจากกัน
  15. ผ้าลายแป๋งซิ่น (กล่าวถึงให้เห็นว่าชาวไท-ยวนในอดีตใส่ผ้าซิ่นที่มีลวดลายงดงามวิจิตร จนคนไทถิ่นเรียกคนไท-ยวนว่ายวนตูดลาย)
  16. ติ่นแดงตุ้มอก (สื่อให้เห็นว่าคนไท-ยวนในอดีตนิยมเอาผ้าสีแดงมานุ่งพันอกแทนเสื้อผ้า)
  17. ผ้าปกก้องคอ (หมายถึงสไบที่คนล้านนาหรือไท-ยวนใช้คล้องคอ)
  18. สางผมรอม้วนเกล้า(สื่อให้เห็นว่าหญิงไท-ยวนในอดีตมักไว้ผมยาวและเกล้าผม)
  19. เอื้องเอาแซมผม (สื่อให้เห็นว่าชาวไท-ยวนชอบเอาดอกล้วยไม้มาแซมผมที่เกล้าไว)
  20. สมเป็นฅนยวน (บอกให้รู้ว่าสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้คือชาวยวน)