ประวัติ ของ ฟ้อนเล็บ

ฟ้อนเล็บเป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ทางภาคเหนือโดยเฉพาะรูปแบบการฟ้อนมีอยู่ ๒ แบบ คือแบบพื้นเมืองหรือฟ้อนเมือง และแบบคุ้มเจ้าหลวง กระบวนท่ารำเป็นลีลาท่าฟ้อนที่มีความงดงามเช่นเดียวกับฟ้อนเทียน เพลงแต่ไม่ถือเทียน นิยมฟ้อนในเวลากลางวัน สำหรับชื่อชุดการแสดงจะมีความหมายตามลักษณะของผู้แสดงที่จะสวมเล็บยาวสีทองทุกนิ้ว ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ

ฟ้อนเล็บของกรมศิลปากร ได้รับรูปแบบการฟ้อนจากคุ้มเจ้าหลวงเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เป็นผู้ปรับปรุง ซึ่งได้นำมาเผยแพร่ที่กรุงเทพมหานครในคราวสมโภชพระเศวตคชเดชน์ดิลกช้างเผือกในรัชกาลที่ ๗ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ แล้วนางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากรได้นำมาฝึกให้ละครคณะหลวงในรัชกาลที่ ๗ และถ่ายทอดให้เป็นชุดการแสดงของกรมศิลปากรโดยมีเนื้อร้องประกอบการแสดง เพื่อเป็นการบวงสรวงหรือฟ้อนต้อนรับตามประเพณีทางภาคเหนือ

ใกล้เคียง