เหตุการณ์ ของ ภัยพิบัติสนามกีฬากันจูรูฮัน

ตลอดการแข่งขัน สถานการณ์ความปลอดภัยเป็นไปอย่างราบรื่นปกติ[9] แต่เมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลง เปอร์เซบายาเอาชนะอาเรมาด้วยคะแนน 3–2 เป็นผลให้มีแฟนบอลของอาเรมาราว 3,000 คน บุกรุกเข้าไปในสนาม[10][11] พวกเขาตามหาตัวผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ของทีมเพราะต้องการคำอธิบายว่าเหตุใดจึงแพ้ให้แก่คู่แข่งอย่างเปอร์เซบายา "หลังจากที่ไม่เคยแพ้ในบ้านมาตลอด 23 ปี"[12] เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและตำรวจพยายามกันไม่ให้แฟนบอลของอาเรมาลงมาในสนามเพิ่ม แต่ไม่สำเร็จ[9] แฟนบอลของอาเรมาเริ่มขว้างปาสิ่งของ ทุบทำลายรถตำรวจ และจุดไฟในสนาม[10] เป็นผลให้ผู้เล่นของเปอร์เซบายาต้องรีบไปหลบซ่อนตัวในห้องเปลี่ยนชุด[9] จากนั้นต้องเข้าไปหลบภายในรถยนต์หุ้มเกราะของตำรวจเป็นเวลาเกือบชั่วโมงก่อนจะสามารถออกจากสนามได้[9] ตำรวจเริ่มยิงแก๊สน้ำตาเพื่อสลายจลาจลในสนาม แต่ยังยิงแก๊สน้ำตาเข้าไปที่อัฒจันทร์ 12, อัฒจันทร์ 14, อัฒจันทร์ใต้ และอัฒจันทร์เหนือด้วย[10][13][14][15][10] ทำให้บรรดาแฟนบอลของอาเรมาตื่นตระหนกและวิ่งกรูกันไปยังทางออกทางเดียว (คือประตู 12) เพื่อหนีแก๊สน้ำตา[16] จนเกิดการเบียดเสียดและเหยียบกันเสียชีวิตขึ้น[17] นอกจากนี้ยังมีรายงานการยิงแก๊สน้ำตานอกสนามด้วย[18]

ใกล้เคียง

ภัยพิบัติเชียร์โนบีล ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง ภัยพิบัติแห่งอียิปต์ ภัยพิบัติฮิลส์โบโร ภัยพิบัติทางอากาศมิวนิก ภัยพิบัติท่าอากาศยานเตเนริเฟ ภัยพิบัติสนามกีฬากันจูรูฮัน ภัยพิบัติกอสตากอนกอร์เดีย ภัยพิบัติเรือผู้อพยพในเมซีนีอา พ.ศ. 2566 ภัยพิบัติโภปาล

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภัยพิบัติสนามกีฬากันจูรูฮัน //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... https://apnews.com/article/soccer-sports-indonesia... https://www.bbc.com/news/world-asia-63105945 https://www.cbsnews.com/news/indonesia-soccer-stam... https://www.cnnindonesia.com/nasional/202210030600... https://www.cnnindonesia.com/olahraga/202210020347... https://www.cnnindonesia.com/olahraga/202210020547... https://news.detik.com/berita/d-6335770/update-dat... https://www.detik.com/jatim/sepakbola/d-6324001/al... https://bola.kompas.com/read/2022/10/02/01452648/k...