การแบ่งเขตการปกครอง ของ ภาคกลาง_(ประเทศไทย)

การแบ่งอย่างเป็นทางการ

การแบ่งจังหวัดเป็นภูมิภาคด้วยระบบ 6 ภาค เป็นการแบ่งที่เป็นทางการโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ ใช้ในการศึกษาทางภูมิศาสตร์ โดยภาคกลางของระบบ 6 ภาคนี้ ประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 21 จังหวัด[2] รวมถึงกรุงเทพมหานคร (ซึ่งเป็นเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีฐานะเทียบเท่ากับจังหวัด) โดยมีพื้นที่ทางเหนือไปจนสุดเขตจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดพิษณุโลก และทางใต้ลงไปสุดที่อ่าวไทย ยกเว้นจังหวัดที่ติดกับประเทศพม่า ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขา และยกเว้นจังหวัดทางภาคตะวันออก จังหวัดในภาคกลางตามการแบ่งที่เป็นทางการ ประกอบไปด้วยจังหวัดต่าง ๆ 21 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ดังตารางข้างล่างนี้

ตราประจำ
จังหวัด
ชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
กรุงเทพมหานครBangkok5,682,4151,568.73,622.2
กำแพงเพชรKamphaeng Phet727,0938,607.584.5
ชัยนาทChai Nat334,9342,469.7135.6
นครนายกNakhon Nayok252,7342,122.0119.1
นครปฐมNakhon Pathom860,2462,168.3396.7
นครสวรรค์Nakhon Sawan1,073,4959,597.7111.8
นนทบุรีNonthaburi1,101,743622.31,770.4
ปทุมธานีPathum Thani985,6431,525.9645.9
พระนครศรีอยุธยาPhra Nakhon Si Ayutthaya782,0962,556.6305.9
พิจิตรPhichit552,6904,531.0122.0
พิษณุโลกPhitsanulok849,69210,815.878.6
เพชรบูรณ์Phetchabun996,03112,668.478.6
ลพบุรีLop Buri755,8546,199.8121.9
สมุทรปราการSamut Prakan1,185,1801,004.11,180.3
สมุทรสงครามSamut Songkhram194,057416.7465.7
สมุทรสาครSamut Sakhon491,887872.3563.9
สระบุรีSaraburi617,3843,576.5172.6
สิงห์บุรีSing Buri214,661822.5261.0
สุโขทัยSukhothai601,7786,596.191.2
สุพรรณบุรีSuphan Buri845,9505,358.0157.9
อ่างทองAng Thong284,970968.4294.3
อุทัยธานีUthai Thani327,9596,730.348.7

การแบ่งแบบอื่น

แผนที่ภาคกลาง กำหนดตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ยังมีหลายหน่วยงานที่กำหนดขอบเขตของภาคกลางแตกต่างกันออกไป เพราะภูมิภาคเป็นการปกครองที่ไม่มีผู้บริหาร ไม่มีเขตที่ชัดเจน การแบ่งจังหวัดเป็นภูมิภาคจึงเป็นเพียงการจัดกลุ่มทางภูมิศาสตร์และสถิติเท่านั้น บางครั้งก็มีการระบุว่าพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นภูมิภาคที่แยกต่างหากจากภาคกลาง หรือระบุว่าภาคกลางไม่มีจังหวัดนครนายก แต่ไปอยู่ภาคตะวันออก เช่น การจัดแบ่งภูมิภาคตามคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้ภาคกลางประกอบด้วย 8 จังหวัด และเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 1 เขต ได้แก่

แผนที่ภาคกลาง ระบบ 4 ภาค (เหนือ กลาง อีสาน ใต้) อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งรวมภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเข้ามา

ส่วนการจัดแบ่งภาคกลางตามระบบ 4 ภาค (เหนือ กลาง อีสาน ใต้) ซึ่งเป็นการแบ่งที่ไม่เป็นทางการ โดยมีพื้นที่ทางเหนือถึงแค่จังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดลพบุรี และรวมภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเข้ามารวมด้วย ประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 25 จังหวัด และเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 1 เขต ได้แก่

นอกจากนี้ เพื่อวัตถุประสงค์เชิงสถิติ จึงมีการแบ่งภาคกลางของระบบ 4 ภาค ออกเป็นภูมิภาคย่อย 4 กลุ่ม[3] ซึ่งเป็นการแบ่งอย่างไม่เป็นทางการเช่นกัน ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ภาคกลางนอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาคกลาง_(ประเทศไทย) http://203.113.86.149/stat/pk/pk53/pk_53.pdf http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat54.html http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat57.html http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/... https://hdi.globaldatalab.org/areadata/shdi/ https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Centra...