ภาพยนตร์ญี่ปุ่น

ภาพยนตร์ญี่ปุ่น มีประวัติอันยาวนานมาร่วมร้อยปี โดยภาพยนตร์เงียบเรื่องแรกของญี่ปุ่นคือภาพยนตร์เรื่อง Bake Jizo และ Shinin no sosei ภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 1898 ส่วนหนังเสียงเรื่องแรกคือเรื่อง The Neighbor's Wife And Mine (1931) กำกับโดย เฮอิโนสุเกะ โกโซ และมีการเกิดขึ้นของสตูดิโอยักษ์ใหญ่ในวงการช่วงนี้คือ นิกคัตสุ, โชชิกุ และ โตโอ (ตามลำดับ) หนังในยุคทศวรรษที่ 30 ถือเป็นยุคทองของภาพยนตร์ญี่ปุ่นทีเดียว โดยมีความหลายหลาย ตั้งแต่หนังซามูไร หนังเกอิชา หนังรัก หนังตลก จนถึงหนังเพลง ถึงแม้ญี่ปุ่นจะไม่ส่งหนังออกจำหน่ายนอกประเทศเท่าไร แต่ผู้ชมภายในประเทศในช่วงยุคทศวรรษที่ 30 มีการบันทึกว่าคนดูหนังชาวญี่ปุ่นมีจำนวนมากถึง 250 ล้านคนต่อปีหลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1937 ญี่ปุ่นทำสงครามอย่างเป็นทางการกับจีน ทำให้เกิดหนังโฆษณาชวนเชื่อและหนังปลุกใจรักชาติ โดยนักแสดงชื่อ โยชิโกะ ยามางุจิ ถือเป็นสัญลักษณ์ในช่วงนี้ หลังจากนั้นก็เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 สภาพสังคมบีบให้ภาพยนตร์ส่วนใหญ่เน้นโฆษณาชวนเชื่อ ดาราใหญ่ ๆ ก็ต้องไปเล่นหนังเนื้อหาปลุกใจประชาชน นอกจากหนังโฆษณาแล้ว รัฐยังเข้ามาแทรกแซงวงการภาพยนตร์ด้วยการเซ็นเซอร์อีกด้วยภาพยนตร์ญี่ปุ่นในยุคทศวรรษที่ 1950 ถือเป็นยุคทองอีกช่วงหนึ่ง ในช่วงที่ญี่ปุ่นสูญเสียจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งญี่ปุ่นต้องการสร้างชาติกันใหม่อีกครั้ง รวมถึงวงการหนังด้วย ภาพยนตร์ในยุคนี้จะเน้นความเป็นประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ การปลดแอกสตรีเพศ และการต่อต้านศักดินาและระบอบทหาร เนื้อหาในหนังจะมีตัวละครค้นหาความเป็นมนุษย์ของตนเอง ผู้หญิงถูกสำรวจและชี้ให้เห็นถึงการถูกกดขี่ทางเพศ และทางออกของพวกเธอ นอกจากนี้หนังหลายเรื่องยังพูดถึงพิษภัยจากสงครามที่มีผลกระทบต่อประชาชนตาดำๆ การดิ้นรนต่อสู้กับความยากลำบากในปี ค.ศ. 1951 ภาพยนตร์เรื่อง Rashomon กำกับโดย อากิระ คุโรซาวะ คว้ารางวัลสิงโตทองคำ ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิซ และรางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมจากรางวัลออสการ์ ในยุคนี้มีผู้กำกับทั้งเก่าทั้งใหม่ อย่าง ยาสุจิโระ โอสุ, มิกิโอะ นารุเสะ, เคนจิ มิโซงุจิ, อากิระ คุโรซาวิ, คอง อิจิกาวา, มาซิกิ โคบายาชิ และ เคสุเกะ คิโนะชิตะ[1] ทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1950 มีผู้เข้าชมภาพยนตร์ญี่ปุ่นประจำปีมากที่สุดถึง 1.1 ล้านล้านคนในปี ค.ศ. 1958ความนิยมแพร่หลายของโทรทัศน์ในทศวรรษที่ 1960 ทำให้ผู้ชมภาพยนตร์ลดลงและความแพร่หลายของวิดีโอในทศวรรษที่ 1980 โดยจำนวนลดลงไปจนเหลือ 150 ล้าน ยอดการออกฉายในภาพยนตร์ต่างประเทศและภาพยนตร์ญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1987 มีจำนวน 370 เรื่อง โดยจำนวนภาพยนตร์ต่างประเทศมากกว่าภาพยนตร์ญี่ปุ่นมีสัดส่วน 2:1[2]สำหรับในประเทศไทย ภาพยนตร์ญี่ปุ่นได้เข้ามาเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1897 เมื่อนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นกลุ่มหนึ่งได้นำเข้ามาฉายในประเทศไทย พร้อมกับจัดสร้างโรงภาพยนตร์ขึ้นมา เป็นกระโจมชั่วคราว ต่อได้พัฒนาเป็นโรงถาวรมีหลังคา มีม้านั่งเป็นแถวยาว จึงถูกเรียกขานว่า "โรงภาพยนตร์ญี่ปุ่น" ในย่านนอกกำแพงพระนครฝั่งตะวันออก เนื่องจากเป็นย่านเศรษฐกิจและมีผู้คนพลุกพล่าน รวมถึงยังมีบ่อนการพนันทั้งในย่านสะพานหันและสำเพ็งที่อยู่ใกล้เคียง ในเวลาต่อมาโรงภาพยนตร์ญี่ปุ่นได้หมดความนิยมลง จึงได้ถูกรื้อและสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ ในนาม "เวิ้งนาครเขษม" และได้มีการสร้างโรงภาพยนตร์ขึ้นมาใหม่ในชื่อ โรงภาพยนตร์นาครเขษม นับเป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกในประเทศไทยอีกด้วย[3] [4]

ใกล้เคียง

ภาพยนตร์ ภาพยนตร์ไทย ภาพยนตร์ลามก ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร ภาพยนตร์โลดโผน ภาพยนตร์ศึกษา ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ภาพยนตร์ญี่ปุ่น ภาพยนตร์ในประเทศกัมพูชา ภาพยนตร์สั้น มาสค์ไรเดอร์เซเบอร์ นักดาบฟินิกส์กับสมุดแห่งหายนะ