ประวัติ ของ ภาพยนตร์เกาหลี

ในสมัยที่เกาหลีเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น ภาพยนตร์เกาหลีส่วนใหญ่ถูกทำลายไปในสงคราม ภาพยนตร์เรื่องใหม่ ๆ ในสมัยนั้นญี่ปุ่นยังคุมเข้มเซ็นเซอร์ทั้งเนื้อหาและทุนสร้าง อิทธิพลของญี่ปุ่นยังครอบงำอุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีอยู่หลายปี ถึงขนาดมีการห้ามไม่ให้คนเกาหลีสร้างภาพยนตร์ภาษาเกาหลีออกมาฉายในโรงอย่างเด็ดขาด

จนกระทั่งมีสนธิสัญญาสงบศึกปี พ.ศ. 2496 ประธานาธิบดี Rhee Syng Man ประกาศให้ยกเว้นภาษีต่าง ๆ ในโรงภาพยนตร์ โดยหวังจะฟื้นฟูอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเกาหลี เปิดรับความช่วยเหลือทั้งด้านเทคโนโลยี และอุปกรณ์การถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเกาหลีเฟื่องฟูขึ้นมา โดยแนวของภาพยนตร์เน้นคือภาพยนตร์แนวสะเทือนอารมณ์ทั้งหลาย รวมทั้งภาพยนตร์แนวแอ็คชั่น ซึ่งมีการหยิบเอาวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของคนเกาหลีมาสร้างเป็นบทภาพยนตร์ที่กินใจคนดู

ภายหลังนายพลปาร์คจุงฮีก่อรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2504 อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเกาหลีใต้ก็เริ่มตกต่ำลง เนื่องจากรัฐบาลชุดใหม่ออกกฎระเบียบควบคุมภาพยนตร์อย่างเข้มงวด โดยห้ามมีเนื้อหาทางการเมืองอย่างเด็ดขาด ส่งผลกระทบทำให้เนื้อหาภาพยนตร์เกาหลีใต้เป็นเรื่องซ้ำซาก ไม่มีเนื้อหาแปลกใหม่ที่เป็นความสนใจของประชาชน ประกอบกับได้รับผลกระทบจากการแพร่ภาพโทรทัศน์และวิดีโอเทป โดยประชาชนหันมานิยมชมโทรทัศน์ที่บ้าน แทนที่จะไปชมที่โรงภาพยนตร์ ประกอบกับรัฐบาลได้เข้ามาเข้มงวดกับการตรวจพิจารณาอนุมัติการสร้างภาพยนตร์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2523-2535 อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีจึงกลับมาดีขึ้น ประชาชนหันมาให้ความสนใจกับการชมภาพยนตร์ในโรงมากขึ้น

โดยในปี พ.ศ. 2531 อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลี ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลง คือ เมื่อหัวหน้ากองทัพ โร ตี วู ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่อนุญาตให้ลดความเข้มงวดของกฎหมายในการตรวจพิจารณาอนุมัติสิ่งบันเทิงและวิทยุ และต่อมาได้มีการยกเลิกข้อกำหนดที่เข้มงวดของการนำเข้าภาพยนตร์จากต่างประเทศ

ภาพยนตร์เรื่อง เทกึกกี เลือดเนื้อเพื่อฝัน วันสิ้นสงคราม

ผู้สร้างภาพยนตร์เกาหลีได้พัฒนาการสร้างภาพยนตร์เพื่อให้สร้างแข่งขันกับภาพยนตร์จากต่างประเทศ ขณะเดียวกัน ผู้ชมก็หันไปให้ความสนใจกับภาพยนตร์จากต่างประเทศมากขึ้น จนทำให้รัฐบาลเกาหลีที่เข้ามาแทรกแซงกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์อีกครั้ง และครั้งนี้เองที่ส่งผลมาจนถึงตลาดรวมของอุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีปัจจุบัน ที่ขยายวงกว้างออกไปยังตลาดต่างประเทศ ไม่ได้จำกัดวงอยู่เพียงแค่ในตลาดเกาหลีเท่านั้น

รัฐบาลเกาหลีได้กำหนดจำนวนวันเข้าฉายของภาพยนตร์เกาหลี ว่าต้องฉายอย่างน้อย 106 วันใน 1 ปี[ต้องการอ้างอิง] หลังจากนั้น ได้มีการกำหนดว่าในปริมาณภาพยนตร์ที่เข้าฉายในโรงทั้งหมด ต้องมีสัดส่วน 1 ใน 4 ของจำนวนโรงที่ฉายภาพยนตร์เกาหลี และรัฐบาลยังให้เงินสนับสนุนกับผู้สร้างภาพยนตร์ปีละ 10 เรื่อง เรื่องละประมาณ 20 ล้านบาท จากการสนับสนุนตรงนี้แหละที่ทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีเฟื่องฟูมาถึงทุกวันนี้ และทำให้เกิดบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ทั้งเก่าและใหม่ขึ้นในเกาหลีมากกว่า 1,000 บริษัท มีภาพยนตร์เกาหลีออกสู่ตลาดประมาณ 70-80 เรื่อง

อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเกาหลีใต้เริ่มประสบผลสำเร็จทางธุรกิจในช่วงประเทศเผชิญภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โดยปรากฏการณ์สำคัญที่เป็นจุดพลิกผันของอุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีใต้ คือ ภาพยนตร์เรื่อง Shiri ซึ่งทุ่มทุนสร้างประมาณ 120 ล้านบาท และประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก สร้างรายได้เฉพาะภายในประเทศเกาหลีใต้เป็นเงินมากถึง 800 ล้านบาท

จากนั้นภาพยนตร์เกาหลีใต้อีกหลายเรื่องก็เดินหน้าประสบผลสำเร็จอย่างท่วมท้นเมื่อนำออกฉายภายในประเทศ เป็นต้นว่า ภาพยนตร์เรื่อง Friends ประสบความสำเร็จมากเมื่อนำออกฉายในปี 2544 โดยมีผู้ชมในเกาหลีใต้มากถึง 8.1 ล้านคน[ต้องการอ้างอิง]

ภาพยนตร์เรื่อง “Taegukgi : The Brotherhood of War” หรือ “เท กึก กี เลือดเนื้อเพื่อฝัน วันสิ้นสงคราม” ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสงครามเกาหลี ทุ่มทุนสร้างสูงถึง 560 ล้านบาท ใช้นักแสดงมากถึง 25,000 คน ประสบผลสำเร็จอย่างมาก มีผู้ชมชาวเกาหลีใต้ถึง 10 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 48 ล้านคนของเกาหลีใต้

ใกล้เคียง

ภาพยนตร์ ภาพยนตร์ไทย ภาพยนตร์ลามก ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร ภาพยนตร์ศึกษา ภาพยนตร์โลดโผน ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ภาพยนตร์ญี่ปุ่น ภาพยนตร์สั้น มาสค์ไรเดอร์เซเบอร์ นักดาบฟินิกส์กับสมุดแห่งหายนะ ภาพยนตร์ในประเทศกัมพูชา