การเซ็นเซอร์ในภาพยนตร์ไทย ของ ภาพยนตร์ไทย

การเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ในประเทศไทย เกี่ยวข้องกับหน่วยงานคณะกรรมการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ หรือ กองเซ็นเซอร์ ซึ่งได้ยึดเอาพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. 2473 เป็นบรรทัดฐาน ในมาตรา 4 ระบุไว้ชัดเจนว่า “ห้ามมิให้ทำ หรือฉาย หรือแสดง ณ สถานที่มหรสพ ซึ่งภาพยนตร์หรือประกาศกอปรด้วยลักษณะฝ่าฝืน หรืออาจฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ถึงแม้เพียงว่าการทำหรือฉาย หรือการแสดงภาพยนตร์ หรือประกาศนั้น ๆ น่าจะมีผลเช่นว่านั้น ก็ห้ามดุจกัน” [77]

ในยุคสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับเอาแนวคิดต่อต้านคอมมิวนิสต์จากสหรัฐอเมริกาเข้ามา ก่อให้เกิดการเข้มงวดกวดขันในทุกรูปแบบ รวมทั้งในวงการภาพยนตร์ด้วย เมื่อเข้าสู่ยุคเผด็จการสฤษดิ์-ถนอม-ประภาส ความหวาดระแวงภัยคอมมิวนิสต์ยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปอีก ภาพยนตร์เรื่องใดที่เข้าข่ายวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลก็จะถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษ เช่นภาพยนตร์เรื่อง เขาชื่อกานต์ โดยการกำกับของ ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล ถูกเชิญให้เข้าชี้แจงต่อจอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ว่ามีเจตนาทำลายเสถียรภาพรัฐหรือไม่ อีกทั้งตลาดพรหมจารี ของสักกะ จารุจินดา, เทพธิดาโรงแรม ที่มีฉากหนึ่งจากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516[78] ต่อมา เมื่อเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ผ่านพ้น ประชาชนตระหนักในสิทธิเสรีภาพของตน ขณะเดียวกันสื่อภาพยนตร์ก็สนองตอบต่อบรรยากาศทางสังคมขณะนั้นด้วย โดยสะท้อนออกมาในภาพยนตร์ว่าด้วยเสรีภาพในเรื่องเซ็กซ์อย่างเต็มที่ อาทิ ภาพยนตร์เรื่อง รสสวาท, ตลาดพรหมจารี และ เทพธิดาโรงแรม

การเติบโตของเทคโนโลยีสื่อขนานใหญ่และยากแก่การควบคุมขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้มีการตรา “พระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พุทธศักราช 2530” ที่รวมเอาสื่อวีซีดี ดีวีดี วิดีโอเกม เลเซอร์ดิสก์ และซีดีรอมไว้ด้วย[79] ภายใต้คำแถลงของผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมขณะนั้นที่ว่า “แม้จะได้รับอนุญาตจากกองเซ็นเซอร์ให้สามารถเผยแพร่ได้ ก็ยังมีสิทธิ์ติดคุก หากมีผู้ร้องทุกข์จนเป็นคดีในศาล ว่า ภาพที่ปรากฏเป็นภาพลามกตามกฎหมายอาญา 287“ เป็นผลทำให้ภาพยนตร์หลายเรื่อง “เซ็นเซอร์ตัวเอง” (Self-censorship) ตัวอย่างเช่นในภาพยนตร์ วีซีดี ดีวีดี และโทรทัศน์ เหล่าผู้ประกอบการจำต้องร่วมเซ็นเซอร์ตัวเองเพราะหวั่นทางเรื่องกฎหมาย

นอกจากการเซ็นเซอร์จะสะท้อนบรรยากาศแห่งยุคสมัยแล้ว ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเรายังได้เห็นการเซ็นเซอร์ในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย เป็นต้นว่า สั่งให้เปลี่ยนชื่อเรื่อง (อาจารย์ใหญ่ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ศพ) ให้ถ่ายทำบางฉากใหม่ (องคุลีมาล, หมากเตะรีเทิร์นส) ขึ้นคำเตือน (Invisible waves / ฉากสูบบุหรี่, มนุษย์เหล็กไหล / ฉากเล่นไพ่) ตัดบางฉากออกไป (สุดเสน่หา / ตัดฉากเลิฟซีนของคู่รักวัยทอง) ฯลฯ [80]

5 มีนาคม พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา โดยเนื้อหาโดยรวม ภาครัฐยังคงให้อำนาจ เข้ามาควบคุมจัดการสื่อภาพยนตร์ไม่ต่างจาก พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฉบับเดิมที่ใช้กันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2473 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการเรียกร้องของคนในอุตสาหกรรมหนังไทย และวิพากษ์วิจารณ์ตลอดปี 2550 ไม่ประสบผลสำเร็จ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบในการเซ็นเซอร์จัดเรทภาพยนตร์ที่จะเข้าฉายในประเทศไทย และภาพยนตร์ทุกเรื่องที่จะเข้าฉายจะต้องถูกจัดเรท เพื่อความเหมาะสมกับกลุ่มอายุผู้ชม 7 เรท คือ ภาพยนตร์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และควรส่งเสริมให้มีการดู ,ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ชมทั่วไป ,ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ชมอายุ 13 ปีขึ้นไป ,ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป ,ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป ,ภาพยนตร์ที่ห้ามผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีดู และ ภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักรไทย[81] โดยการกำหนดประเภทภาพยนตร์นี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552[82]

ใกล้เคียง

ภาพยนตร์ ภาพยนตร์ไทย ภาพยนตร์ลามก ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร ภาพยนตร์โลดโผน ภาพยนตร์ศึกษา ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ภาพยนตร์ญี่ปุ่น ภาพยนตร์ในประเทศกัมพูชา ภาพยนตร์สั้น มาสค์ไรเดอร์เซเบอร์ นักดาบฟินิกส์กับสมุดแห่งหายนะ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาพยนตร์ไทย http://202.57.155.216/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=... http://www.bectero.com/movie.htm http://www.bkkonline.com/movie/news.aspx?id=934 http://www.boxofficemojo.com/intl/alltime/thailand... http://www.boxofficemojo.com/intl/thailand/yearly/ http://www.brandage.com/issue/cs_detail.asp?id=177... http://www.deedeejang.com/news/entertain/00197.htm... http://www.deknang.com/index.php?option=content&ta... http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=58... http://www.imdb.com/title/tt0282658/