ประวัติการเป็นเจ้าของ ของ ภาพเหมือนของนายแพทย์กาแช

  • ภาพดั้งเดิมขายโดยน้องสะใภ้ของฟัน โคคเป็นจำนวน 300 ฟรังก์ในปี ค.ศ. 1897 ต่อมาก็ถูกขายให้แก่เพาล์ คัสซีเรอร์ (ค.ศ. 1904), เค็สส์เลอร์ (ค.ศ. 1904) และดรุแอ (ค.ศ. 1910) ในปี ค.ศ. 1911 หอศิลป์แห่งรัฐที่แฟรงก์เฟิร์ตก็ซื้อต่อจากดรุแอ และตั้งแสดงอยู่ที่นั่นจนกระทั่งปี ค.ศ. 1933 เมื่อถูกนำไปซ่อน ในปี ค.ศ. 1937 ภาพเขียนก็ถูกยึดโดยกระทรวงการส่งเสริมการประเทืองปัญญาของสาธารณชนและการโฆษณาชวนเชื่อ (Ministry of Public Enlightenment and Propaganda)[5] ทำให้แฮร์มันน์ เกอริง (นักการเมืองคนสำคัญในพรรคนาซี) รีบขายภาพให้แก่นักซื้องานศิลปะคนหนึ่งในอัมสเตอร์ดัม นักซื้อผู้นี้ก็ขายภาพต่อให้กับนักสะสมศิลปะชื่อซีกฟรีด ครามาร์สกี เขานำภาพเขียนชิ้นนี้ติดตัวไปด้วยเมื่อหนีไปนิวยอร์ก และมักจะให้พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันยืมไปจัดแสดงอยู่บ่อยครั้ง

ในปี ค.ศ. 1990 ตระกูลครามาร์สกีได้ประมูลขายภาพเขียนนี้เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 ที่ห้องประมูลภาพคริสตีส์ในนครนิวยอร์ก ไซโต เรียวเอ (Saitō Ryōei) ประธานกิตติมศักดิ์ของบริษัทผลิตกระดาษไดโชวะ จ่ายเงินประมูลไปด้วยราคา 82.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ภาพเขียนนี้กลายเป็นภาพเขียนที่มีราคาสูงที่สุดในโลกในขณะนั้น ไซโตผู้มีอายุ 75 ปีสร้างความโกรธเคืองระดับโลกเมื่อกล่าวว่าจะเผาภาพเขียนพร้อมกับร่างของตนเองเมื่อเสียชีวิต แต่ต่อมาไซโตก็พยายามไกล่เกลี่ยว่าความหมายที่ตั้งใจคือต้องการที่จะอนุรักษ์ภาพเขียนตลอดไป ผู้ช่วยของไซโตอธิบายเพิ่มว่าคำพูดดังกล่าวเป็นเพียงการแสดงความรู้สึกผูกพันอย่างลึกซึ้งของไซโตต่อภาพเขียนเท่านั้น ต่อมาไซโตก็กล่าวว่าจะอุทิศภาพเขียนให้กับรัฐบาลหรือพิพิธภัณฑ์ แต่หลังจากที่เขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1996 ที่อยู่ของภาพเขียนและเจ้าของก็กลายเป็นเรื่องลึกลับ แต่เมื่อต้นปี ค.ศ. 2007 ก็มีข่าวมาว่า เมื่อสิบปีก่อน ภาพเขียนถูกขายให้แก่นักลงทุนทางการเงินที่เกิดในออสเตรียชื่อว็อล์ฟกัง เฟลิทเทิล แต่หลังจากที่ประสบปัญหาทางการเงิน เฟลิทเทิลก็ต้องขายภาพเขียนต่อ แต่ยังไม่เป็นที่ทราบกันว่าใครเป็นผู้ซื้อ

ใกล้เคียง

ภาพเหมือนตนเอง ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี ภาพเหมือนผู้อุทิศ ภาพเหมือน ภาพเหมือนของมาดามเอ็กซ์ ภาพเหมือนของนายแพทย์กาแช ภาพเหมือนของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?) ภาพเหมือนของหญิงสาว (ลา ฟอร์นารินา) ภาพเหมือนของมาฟเฟโอ บาร์เบอรินิ (คาราวัจโจ)