ภารตมาตา
ภารตมาตา

ภารตมาตา

ภารตมาตา (ละติน: Bhārat Mata, ฮินดี จากสันสกฤต ภารตอัมพา Bhāratamba, भारताम्बा; अम्बा อมฺพา แปลว่า 'มารดา') หรือเรียกกันว่า มารดาอินเดีย (อังกฤษ: Mother India) ในภาษาอังกฤษแบบอินเดีย เป็นบุคลาธิษฐานแห่งชาติของประเทศอินเดีย[1] พระนางมักแสดงออกในลักษณะของสตรีที่ปกคลุมด้วยส่าหรีย้อมสีฝรั่น (Saffron) ถือธงชาติอินเดีย บางครั้งประกบข้างด้วยสิงโตอินเดีย[2]การสร้างบุคลาธิษฐานให้กับอนุทวีปอินเดียโดยใช้การสร้างพระนางภารตมาตานั้นเริ่มมีในปลายทศวรรษที่ 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการกบฏอินเดีย ค.ศ. 1857 (Indian Rebellion of 1857) เพื่อต่อต้านการปกครองของบริเตน แนวคิดภารตมาตาเริ่มเป็นที่รับรู้ของผู้คนในฐานะภาพตัวแทนของดินแดนอินเดียเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1882 ซึ่งวาดโดย พังกิมจันทระ จัฏโฏปาธยาย (Bankimchandra Chatterjee) ในหนังสือ "อานันทมฐะ" (Anand Math) ของเขา[3]