ผลที่ตามมา ของ ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ

แม้ว่าบ่อยครั้งจะไม่มีการตระหนักถึงความสำคัญ ภาวะละเลยข้างเดียวสามารถมีผลที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ ภาวะนี้มีอิทธิพลด้านลบต่อความสามารถในการทำกิจการงาน ดังที่วัดโดยใช้วิธี Barthel ADL index[11] มากกว่าอายุ เพศ กำลัง ซีกของโรคหลอดเลือดสมอง ความสมดุล การรับรู้อากัปกิริยา การรับรู้ หรือสถานะของ ADL[12] ก่อนเกิดโรค

ความมีภาวะนี้ภายใน 10 วันของการมีโรคลมปัจจุบัน เป็นตัวพยากรณ์การฟื้นฟูทางกิจหลังจาก 1 ปีที่ไม่ดี ที่แม่นยำกว่าตัวแปรอื่นหลายอย่าง รวมทั้งความอัมพฤกษ์ครึ่งซีก ภาวะบอดครึ่งซีก (hemianopsia) อายุ ความทรงจำทางตา (visual memory) ความทรงจำทางภาษา (verbal memory) หรือความสามารถในการสร้างมโนภาพ

ภาวะละเลยน่าจะเป็นเหตุอย่างหนึ่ง ที่คนไข้มีความเสียหายในสมองซีกขวา มีโอกาสเป็นสองเท่าที่จะหกล้ม มากกว่าคนไข้มีความเสียหายในสมองซีกซ้าย คนไข้ภาวะละเลยต้องใช้เวลาฟื้นฟูนานกว่า และมีการพัฒนาการฟื้นฟูวันต่อวันในระดับที่ต่ำกว่าคนไข้อื่นที่มีความสามารถในการทำกิจคล้าย ๆ กัน นอกจากนั้น คนไข้ภาวะละเลยมีโอกาสที่จะใช้ชีวิตอย่างเป็นอิสระน้อยกว่า แม้แต่เมื่อเทียบกับคนไข้ที่มีทั้งภาวะเสียการสื่อความ (aphasia) อย่างรุนแรงและความอัมพฤกษ์ครึ่งซีกในสมองด้านขวา (คือคนไข้ที่มีความเสียหายในสมองซีกขวาเป็นหลัก)

ใกล้เคียง

ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำลึก ภาวะลดรูป ภาวะลวงตา ภาวะโลกร้อน ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะสมองเสื่อม ภาวะไม่รู้ใบหน้า

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ http://psyche.cs.monash.edu.au/v1/psyche-1-08-walk... http://www.undergrad.ahs.uwaterloo.ca/~aktse/unila... http://www.emedicine.com/neuro/topic719.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=781.... http://cydai.wikispaces.com/file/view/Right+hemisp... http://ccn.upenn.edu/chatterjee/anjan_pdfs/p181_s.... http://marsicanus.free.fr/Publications/2007_Curr_O... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12511859 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17174459 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17620870