ภาวะเป็นพิษคาร์บอนมอนอกไซด์
ภาวะเป็นพิษคาร์บอนมอนอกไซด์

ภาวะเป็นพิษคาร์บอนมอนอกไซด์

ภาวะพิษคาร์บอนมอนอกไซด์ (อังกฤษ: Carbon monoxide poisoning) โดยทั่วไปแล้วเกิดจากการหายใจเอาคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เข้าไปในปริมาณที่มากเกิน[3] อาการที่แสดงออกมักอธิบายว่า "คล้ายหวัด" และโดยทั่วไปมักประกอบด้วยปวดหัว, วิงเวียน, อ่อนแรง, อาเจียน, เจ็บแน่นหน้าอก และ มึนงง[1] หากได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์ในจำนวนมากอาจทำให้เสียการรับรู้, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, ชัก, จนถึงเสียชีวิต[1][2] ลักษณะ "ผิวแดงเป็นผลเชอรี่" (cherry red skin) ที่นิยมใช้อธิบายภาวะนี้ที่จริงพบได้ยาก[2] ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวอาจมีอาการเหนื่อย, ความทรงจำมีปัญหา, และการเคลื่อนไหวผิดปกติ[5] ในกรณีที่พบว่าได้รับควันบุหรี่นั้น ควรต้องพิจารณากรณีภาวะพิษไซยาไนด์ไปด้วย[2]ภาวะพิษคาร์บอนมอนอกไซด์อาจเกิดได้โดยบังเอิญ ทั้งในกรณีของความพยายามฆ่าตัวตายหรือความพยายามฆ่าผู้อื่น[6][7] คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นก๊าซที่ไม่มีสีและไม่มีกลิ่นซึ่งไม่ก่อให้เกิดความระคายเคืองในระยะแรก[5] คาร์บอนมอนอกไซด์นั้นเกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของสารอินทรีย์[5] อาจพบในทั้งยานยนต์, เครื่องทำความร้อน ไปจนถึงอุปกรณ์ทำครัวที่ใช้เชื้อเพลิงกลุ่มคาร์บอน[1] นอกจากคาร์บอนมอนอกไซด์แล้ว ภาวะพิษนี้ยังเกิดจากการได้รับเมธิลีนคลอไรด์เช่นกัน[8] คาร์บอนมอนอกไซด์ หลัก ๆ ทำให้เกิดผลกระทบในทางอันตราย (adverse effects) ผ่านการจับกับเฮโมโกลบิน เป็นคาร์บอกซีเฮโมโกลบิน (HbCO) ซึ่งกันไม่ให้เลือดขนส่งออกซิเจนได้[5] นอกจากนี้ไมโยโกลบิน และ ไซโทโครมออกซิเดสในไมโทคอนเดรีย ล้วนได้รับผลกระทบ[2] การวินิจฉัยโรคใช้ผลจากการตรวจระดับ HbCO ซึ่งจะอยู่ที่สูงกว่า 3% ในผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ และสูงกว่า 10% ในผู้ที่สูบบุหรี่[2]ความพยายามในการป้องกันภาวะพิษนี้ประกอบด้วยเครื่องตรวจจับคาร์บอนมอนอกไซด์, ระบบการถ่ายเทอากาศที่เหมาะสมของอุปกรณ์แก๊ส, การทำความสะอาดปล่องไฟอย่างสม่ำเสมอ และการตรวจสอบการทำงานของระบบถ่ายเทอากาศในยานพาหนะให้ปลอดภัยอยู่เสมอ[1] การดูแลรักษาอาการภาวะพิษนั้นทำได้โดยการใช้ออกซิเจน 100% บำบัด ควบคู่ไปกับการรักษาตามอาการ[2][5] โดยทั่วไปจะรักษาต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าไม่แสดงอาการและระดับ HbCO ลดต่ำลงกว่า 10%[2] ในขณะที่อาจมีการใช้การบำบัดด้วยไฮเปอร์บาริกออกซิเจนในกรณีที่ร้ายแรง[2][6] โอกาสเสี่ยงเสียชีวิตของผู้ที่ประสบภาวะพิษนี้อยู่ที่ 1 ถึง 30%[2]

ภาวะเป็นพิษคาร์บอนมอนอกไซด์

อาการ ปวดหัว, วิงเวียน, อ่อนแรง, อาเจียน, เจ็บแน่นหน้าอก, สับสน[1]
สาขาวิชา พิษวิทยา, การแพทย์ฉุกเฉิน
ความชุก เข้าห้องฉุกเฉิน >20,000 กรณี ซึ่งไม่เกี่ยวกับเพลิงไหม้ต่อปี (สหรัฐอเมริกา)[1]
สาเหตุ การหายใจคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไป[3]
วิธีวินิจฉัย ระดับคาร์บอกซิล-เฮโมโกลบิน:
3% (ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่)
10% (ผู้ที่สูบบุหรี่)[2]
ภาวะแทรกซ้อน ขาดการรับรู้, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, ชัก[1][2]
การรักษา รักษาตามอาการ, บำบัดด้วยออกซิเจน 100%, บำบัดด้วยไฮเปอร์บาริกออกซิเจน[2]
การเสียชีวิต >400 ต่อปี ซึ่งไม่เกี่ยวกับเพลิงไหม้ (สหรัฐอเมริกา)[1]
ชื่ออื่น ภาวะพิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide intoxication), ความเป็นพิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์ (carbon monoxide toxicity), การได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์เกินขนาด (carbon monoxide overdose)
โรคอื่นที่คล้ายกัน ภาวะไซยาไนด์พิษ, คีโตเอซิดอซิสจากแอลกอฮอล์, ภาวะพิษแอสไพริน, ติดเชื้อที่ท่อหายใจตอนบน[2][4]
พยากรณ์โรค โอกาสเสี่ยงเสียชีวิต 1–31%.[2]
การป้องกัน ตัวตรวจจับคาร์บอนมอนอกไซด์, ช่องระบายอากาศของอุปกรณ์แก๊ส, การดูแลรักษาระบบถ่ายเวียนอากาศ[1]

ใกล้เคียง

ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเสียการระลึกรู้ ภาวะเหล็กเกิน ภาวะเลือดจาง ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา ภาวะเงินฝืด ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน ภาวะเพศกำกวม ภาวะเสียการอ่านเข้าใจ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะเป็นพิษคาร์บอนมอนอกไซด์ http://www.bmj.com/cgi/content/short/3/5716/180 http://www.emedicine.com/article/topic819987.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=986 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21491385 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22998990 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26563790 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7066484 http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... http://www.who.int/ipcs/publications/ehc/ehc_213/e... //doi.org/10.1002%2F14651858.CD002041.pub3