ภาวะเมาไนโตรเจน
ภาวะเมาไนโตรเจน

ภาวะเมาไนโตรเจน

ภาวะเมาไนโตรเจน หรือ ภาวะเซื่องซึมเหตุไนโตรเจน (อังกฤษ: nitrogen narcosis) หรือ ภาวะเซื่องซึมเหตุก๊าซเฉื่อย (อังกฤษ: inert gas narcosis) หรือชื่ออื่น ๆ อาการเมาน้ำลึก (อังกฤษ: raptures of the deep) และ ปรากฏการณ์มาร์ทีนี (อังกฤษ: Martini effect) เป็นการลดลงของความรู้ตัวชนิดแก้ไขได้ อันเกิดจากการดำน้ำที่ความลึกสูง ซึ่งเกิดจากฤทธิ์กดประสาทของก๊าซเฉื่อยบางชนิดที่ความดันหนึ่ง ภาษาอังกฤษของคำว่าภาวะเซื่องซึม (Nacrosis) มาจากภาษากรีก νάρκωσις (narkōsis) แปลว่า "การทำให้ชา" ซึ่งมาจาก νάρκη (narkē) แปลว่า "ความชา ไร้ความรู้สึก" คำซึ่งปรากฏใช้โดยทั้งโฮเมอร์ และ ฮิปพอคราทีส[1] ภาวะเซื่องซึมมีอาการคล้ายกับความเมา (ภาวะพิษเหตุแอลกอฮอล์) หรือการสูดเอาไนตรัสออกไซด์ ภาวะเมาไนโตรเจนอาจพบได้ในการดำน้ำที่ความตื้นแต่มักไม่ปรากฏชัดเจนเท่าการดำน้ำที่ความลึกมากกว่า 30 เมตรนอกจากฮีเลียม (และอาจรวมถึงนีออน) อากาศที่หายใจล้วนมีผลกดประสาท ซึ่งแตกต่างกันไปตามความดันของก๊าซแต่ละชนิด[2][3] เข้าใจกันว่าเกิดจากความสามารถในการละลายในลิพิด อย่างไรก็ตามทฤษฎีนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่มีหลักฐานชัดเจนว่าลักษณะทั้งสองประการมีความเกี่ยวเนื่องกันในทางฟิสิกส์[2]

ภาวะเมาไนโตรเจน

สาขาวิชา พิษวิทยา

ใกล้เคียง

ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเสียการระลึกรู้ ภาวะเหล็กเกิน ภาวะเลือดจาง ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา ภาวะเงินฝืด ภาวะเพศกำกวม ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน ภาวะเชิงการนับ