ประเภทหลักและประเภทย่อย ของ ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา

มีภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา 2 แบบหลัก คือแบบวิสัญชาน และแบบสัมพันธ์ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตาแบบวิสัญชาน (apperceptive visual agnosia) เป็นความไม่สามารถในการรู้จำวัตถุ แม้ว่า การเห็นขั้นพื้นฐานเช่น ความชัดเจน สี และความเคลื่อนไหว ยังเป็นปกติ[6] สมองต้องประสานลักษณะต่างๆ เช่นเส้น ความสว่าง และสีของข้อมูลทางตาอย่างถูกต้อง เพื่อจะสร้างการรับรู้โดยองค์รวมของวัตถุ ถ้ามีความล้มเหลวในการประมวลผลขั้นนี้ การรับรู้วัตถุนั้นย่อมมีการสร้างอย่างไม่บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น จึงไม่อาจที่จะรู้จำวัตถุนั้นได้[7] บุคคลผู้มีภาวะนี้ ไม่สามารถมีการรับรู้โดยองค์รวมของวัตถุจากข้อมูลทางตา[8] กิจการงานที่ต้องอาศัยการลอกแบบหรือการจับคู่รูปภาพแบบง่ายๆ สามารถตรวจจับบุคคลผู้มีภาวะเสียการระลึกรู้แบบวิสัญชาน เพราะว่า บุคคลเหล่านั้นมีความสามารถที่ถูกตัดรอนและไม่สามารถทำกิจการงานเช่นนั้นได้

ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตาแบบสัมพันธ์ (associative visual agnosia) เป็นความไม่สามารถที่จะรู้จำวัตถุ แม้ว่า จะมีการรับรู้วัตถุที่ถูกต้อง และความรู้เกี่ยวกับวัตถุนั้นไม่มีความเสียหาย ภาวะนี้มีความเกี่ยวข้องกับการประมวลข้อมูลทางตา ในระดับที่สูงกว่าภาวะเสียการระลึกรู้แบบวิสัญชาน[6] บุคคลผู้มีภาวะแบบสัมพันธ์สามารถลอกแบบหรือจับคู่รูปภาพที่ง่ายๆ ซึ่งแสดงว่า สามารถที่จะรับรู้วัตถุได้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้นแล้ว ยังสามารถแสดงความรู้เกี่ยวกับวัตถุเมื่อทดสอบด้วยข้อมูลทางการสัมผัสหรือทางคำพูด แต่ว่า เมื่อถูกทดสอบด้วยข้อมูลทางตา ก็ไม่สามารถบอกชื่อหรือพรรณนาถึงวัตถุที่สามัญทั่วไปได้[7] ซึ่งหมายความว่า มีความบกพร่องในการสัมพันธ์การรับรู้วัตถุนั้น กับความรู้ที่มีอยู่เกี่ยวกับวัตถุนั้น บุคคลผู้มีภาวะนี้ไม่สามารถให้ความหมายกับการรับรู้วัตถุได้ การรับรู้วัตถุนั้นมีอยู่ แต่ไม่มีความหมายอะไรต่อบุคคลผู้มีภาวะนี้[8]

ประเภทย่อยของการเสียการระลึกรู้แบบสัมพันธ์

ประเภทย่อยๆ ของภาวะเสียการระลึกรู้ทางตาแบบสัมพันธ์ ได้แก่

  • ภาวะเสียการระลึกรู้สี (Achromatopsia) ซึ่งเป็นความไม่สามารถในการแยกแยะสี ที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติที่ตา[6]
  • ภาวะบอดใบหน้า (prosopagnosia) ซึ่งเป็นความไม่สามารถในการรู้จำใบหน้า[9] บุคคลภาวะนี้รู้ว่า ตนกำลังมองเห็นใบหน้าอยู่ แต่ไม่สามารถรู้จำบุคคลนั้นว่าเป็นใคร แม้แต่บุคคลที่รู้จักกันดี[10]
  • ภาวะเสียการระลึกทิศทาง (Orientation Agnosia) คือ ภาวะที่ไม่สามารถตัดสินหรือกำหนดแนวทิศทางของวัตถุต่างๆ เป็นต้นว่าแนวตั้ง แนวนอน[11]
  • ภาวะเสียการระลึกรู้ภาษาใบ้ (Pantomime Agnosia) คือความไม่สามารถในการเข้าใจภาษาใบ้ คือกิริยาท่าทาง เป็นความสามารถที่ขาดคอร์เทกซ์สายตาด้านล่างไม่ได้[12]

แบบอื่นๆ

รูปแบบอื่นๆ อีกของภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา ที่ปรากฏในเวชศาสตร์ก็คือ

  • ความบอดคำ ซึ่งเป็นความไม่สามารถในการรู้จำคำ,
  • ภาวะเสียการระลึกรู้สิ่งแวดล้อม เป็นต้นว่า ความไม่สามารถในการรู้จำจุดสังเกตต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม
  • simultanagnosia ซึ่งก็คือ ความไม่สามารถในการรับรู้วัตถุมากกว่าหนึ่งในขณะเดียวกัน[13]

ใกล้เคียง

ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเสียการระลึกรู้ ภาวะเหล็กเกิน ภาวะเลือดจาง ภาวะเงินฝืด ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน ภาวะเพศกำกวม ภาวะเชิงการนับ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา http://jnnp.bmj.com/content/49/11/1233.full.pdf http://jnnp.bmj.com/content/49/4/451.full.pdf //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1028777 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1029070 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2170224 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1374953 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16648452 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19478035 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1986306 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3701356