ภาษากืออึซ
ภาษากืออึซ

ภาษากืออึซ

ภาษากืออึซ (กืออึซ: ግዕዝ, ออกเสียง: [ˈɡɨʕ(ɨ)z]( ฟังเสียง)) หรือที่งานเขียนวิชาการบางฉบับเรียกว่า ภาษาเอธิโอเปียคลาสสิก (อังกฤษ: Classical Ethiopian) และ ภาษาอีทีโอปิกคลาสสิก (อังกฤษ: Classical Ethiopic) เป็นภาษากลุ่มเซมิติกใต้โบราณภาษาหนึ่ง ภาษานี้มีต้นกำเนิดมาจากเอริเทรีย โดยจารึกอักษรกืออึซที่เก่าแก่ที่สุดได้รับการค้นพบในเมืองเมอเตอราทางตอนใต้ของเอริเทรียทุกวันนี้มีการใช้ภาษากืออึซเป็นภาษาพิธีกรรมหลักของคริสตจักรเทอวาฮือโดออร์ทอดอกซ์เอริเทรีย, คริสตจักรเทอวาฮือโดออร์ทอดอกซ์เอธิโอเปีย, คริสตจักรคาทอลิกเอธิโอเปีย, คริสตจักรคาทอลิกเอริเทรีย และชุมชนชาวยิวเบตาอิสราเอลฮาเวิลทีเป็นเสาศิลาอนุสรณ์สมัยก่อนอัฆซุมโบราณซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเมอเตอรา และเป็นตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบของอักษรกืออึซโบราณ นับตั้งแต่เอริเทรียได้รับเอกราช พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเอริเทรียได้ยื่นคำร้องต่อรัฐบาลเอธิโอเปียให้คืนโบราณวัตถุที่ถูกนำออกไปจากสถานที่แห่งนี้ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่เป็นผลภาษาทือเกรและภาษาทือกรึญญาต่างมีคำศัพท์คล้ายคลึงกับภาษากืออึซประมาณร้อยละ 70[5] นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าภาษากืออึซไม่ได้เป็นบรรพบุรุษร่วมของบรรดาภาษากลุ่มเซมิติกเอธิโอเปียสมัยใหม่ แต่เป็นภาษาที่แตกแขนงออกมาในยุคเริ่มแรกจากภาษาบรรพบุรุษในสมมุติฐานภาษาหนึ่งซึ่งยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ยืนยัน[6][7][8]

ภาษากืออึซ

ตระกูลภาษา
สูญหาย ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14[1][2]
ยังคงใช้เป็นภาษาพิธีกรรม[3]
ISO 639-3 gez
ISO 639-2 gez
ออกเสียง [ˈɡɨʕ(ɨ)z]
ระบบการเขียน อักษรกืออึซ
ประเทศที่มีการพูด เอริเทรีย
ภาษาทางการ ภาษาพิธีกรรมของคริสตจักรเทอวาฮือโดออร์ทอดอกซ์เอริเทรีย, คริสตจักรเทอวาฮือโดออร์ทอดอกซ์เอธิโอเปีย, คริสตจักรคาทอลิกเอริเทรีย,[3] คริสตจักรคาทอลิกเอธิโอเปีย และชาวเบตาอิสราเอล[4]