ประวัติ ของ ภาษาคีร์กีซ

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

กลุ่มชนกลุ่มแรกที่รู้จักกันในชื่อชาวคีร์กิซได้มีการกล่าวถึงในยุคกลางตอนต้นของเอกสารจีนในฐานะเพื่อนบ้านทางเหนือ และบางครั้งเป็นกลุ่มจักรวรรดิเติร์กในทุ่งหญ้าสเตปที่อยู่ในมองโกเลีย ชาวคีร์กิซเกี่ยวข้องกับเส้นทางการค้านานาชาติในชื่อเส้นทางสายไหม ในยุคจักรวรรดิ์อุยกูร์เมื่อราว 297 ปีก่อนพุทธศักราช ชนกลุ่มนี้พูดภาษากลุ่มเตอร์กิกที่แตกต่างจากภาษาเตอร์กิกโบราณไปเล็กน้อย และเขียนด้วยอักษรรูนแบบเดียวกัน หลังจากมีชัยชนะเหนืออุยกูร์ ชาวคีร์กีซไม่ได้ครอบครองทุ่งหญ้าสเตปในมองโกเลีย และประวัติศาสตร์ของพวกเขาในช่วงนี้เป็นที่รู้จักน้อยมาก แต่เชื่อว่าพวกเขาคงอาศัยในบริเวณไม่ไกลจากบริเวณที่อยู่ในปัจจุบันนี้

บรรพบุรุษของชาวเติร์กทุกวันนี้ อาจจะเป็นเผ่าซาโมเยคใต้หรือเผ่าเยนิเซยันที่เข้ามาติดต่อกับวัฒนธรรมเติร์ก หลังจากมีชัยชนะเหนืออุยกูร์และตั้งหลักแหล่งในบริเวณออร์คอน ซึ่งเป็นบริเวณที่พบหลักฐานภาษาเตอร์กิกที่เก่าที่สุดในพุทธศตวรรษที่ 14 เอกสารของชาวจีนและมุสลิมในพุทธศตวรรษที่ 12 - 17 อธิบายว่าชาวคีร์กิซว่าเป็นพวกผมแดง ตาสีเขียว

ลูกหลานของชาวคีร์กิซที่สืบเชื้อสายมาจากชาวไซบีเรียได้รับการยืนยันจากข้อมูลทางพันธุกรรม[2] 63% ของชายชาวคีร์กิซในปัจจุบันมี DNA บนโครโมโซม Y Ria1 ซึ่งพบในชาวทาจิก 64% ชาวยูเครน 54% ชาวโปแลนด์ 56% และชาวไอซ์แลนด์ 29%

ถ้าชาวคีร์กิซสืบเชื้อสายมาจากเผ่าซาโมเยคในไซบีเรีย ชาวคีร์กิซจะต้องเคยพูดภาษาในตระกูลภาษายูราลิกมาก่อนที่จะเข้าสู่บริเวณออร์คอน ถ้าเป็นลูกหลานของเผ่าเยนิเซยัน พวกเขาจะเป็นลูกหลานของกลุ่มชนชื่อเดียวกันที่เริ่มเข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศคีร์กีซสถานในปัจจุบันจากบริเวณแม่น้ำเยนิเซยในไซบีเรียตอนกลางเมื่อพุทธศตวรรษที่ 15 อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีที่มาจากเผ่าเยนิเซยันมีข้อโต้แย้งมาก เพราะความใกล้เคียงทางวัฒนธรรมและภาษาของชาวคีร์กิซและชาวคาซัค คำอธิบายในยุคแรกๆ เกี่ยวกับชาวคีร์กิซในเอกสารจีน กล่าวว่าพวกเขามีผมสีแดงและตาสีเขียวซึ่งเป็นลักษณะของกลุ่มชาวคอเคซอยด์ ที่พูดภาษาในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนในยุคนั้น ซึ่งปัจจุบันยังพบอยู่ในยูเรเชียตอนกลาง ยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อมต่อภาษาคีร์กิซเข้ากับตระกูลภาษายูราลิกหรือเยนิเซยัน จึงไม่แน่นอนว่าชาวคีร์กิซในปัจจุบันเป็นลูกหลานของชาวคีร์กิซในยุคกลางหรือไม่

ยุคอาณานิคม

ในยุคที่ถูกปกครองโดยตุรกี (พ.ศ. 2419 - 2460) คาซัคและคีร์กิซถูกเรียกรวมกันว่าคีร์กิซ และส่วนที่เป็นคีร์กิซสถานในปัจจุบันเรียกว่าคีร์กิซดำ แม้ว่าภาษาคีร์กิซจะมีที่มาจากสาขาเดียวกับภาษาอัลไตและภาษาอื่นๆที่ใช้พูดทางตะวันออกเฉียงเหนือของคีร์กิซสถาน แต่ภาษาคีร์กิซในปัจจุบันมีความใกล้เคียงกับภาษาคาซัคและบางครั้งจัดอยู่ในภาษากลุ่มโนกายของภาษากลุ่มเคียปชักซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของภาษากลุ่มเตอร์กิก ถ้าตัดอิทธิพลจากภาษาคาซัคออกไปแล้ว ภาษาคีร์กิซยังคงมีความคล้ายคลึงกับภาษาอัลไตอยู่ ภาษาคีร์กิซสมัยใหม่ไม่มีระบบการเขียนที่เป็นมาตรฐานจนกระทั่ง พ.ศ. 2466 จึงมีการเขียนที่ปรับปรุงมาจากอักษรอาหรับ จากนั้นเปลี่ยนเป็นอักษรละตินที่พัฒนาโดยคาซืม ตืย์นืย์สตานอฟ และเปลี่ยนเป็นอักษรอาหรับใน พ.ศ. 2483 ในทันทีที่ได้รับเอกราช มีการอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนตัวอักษรแต่ยังไม่ได้ข้อสรุป

ความเปลี่ยนแปลงในยุคหลังโซเวียต

ความแตกต่างอย่างหนึ่งระหว่างคีร์กิซสถานกับคาซัคสถาน คือชาวคีร์กิซนิยมใช้ภาษาของตนมากกว่า และอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนชัดเจนกว่า หลังได้รับเอกราชจากโซเวียต รัฐลาลของอะกาเยฟเสนอให้ใช้ภาษาคีร์กิซเป็นภาษาราชการและบังคับให้ชาวยุโรปหันมาใช้ภาษาคีร์กิซ ซึ่งชาวยุโรปที่ส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซียต่อต้านนโยบายนี้มาก ใน พ.ศ. 2535 มีการออกกฎหมายบังคับให้ธุรกิจทุกอย่างต้องใช้ภาษาคีร์กิซเท่านั้นภายใน พ.ศ. 2540 แต่ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 รัฐสภาของคีร์กิซสถานยอมให้ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาคีร์กิซอีกภาษา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้รับแรงกดดันจากรัสเซียด้วย