การจัดโครงสร้างใหม่ ของ ภาษาตังกุต

ความเชื่อมโยงระหว่างการเขียนและการอ่านออกเสียงของภาษาตังกุตเข้าใจยากกว่าระหว่างอักษรจีนกับภาษาจีนปัจจุบัน มีลักษณะของอักษรจีน 90% ที่แสดงหน่วยทางสัทศาสตร์ แต่พบเพียง 10% ในภาษาตังกุต จากงานของ Sufronov การสร้างการออกเสียงของชาวตังกุตขึ้นมาใหม่ จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจากแหล่งอื่น

การค้นพบเอกสารสองภาษาจีน-ตังกุต ทำให้ Ivanov และ Laufur สามารถเริ่มต้นการสร้างใหม่และศึกษาเปรียบเทียบภาษาตังกุตได้ แหล่งข้อมูลอีกแหล่งหนึ่งคือคู่มือการแปลภาษาทิเบตเป็นภาษาตังกุตซึ่งมีการศึกษาเป็นครั้งแรกโดย Nevsky แต่ข้อมูลทั้งสองแหล่งยังไม่เพียงพอสำหรับการสร้างระบบภาษาตังกุตขึ้นมาทั้งหมด ในคู่มือไม่ได้แสดงการออกเสียงที่ถูกต้องของภาษาตังกุต โดยเป็นคู่มืออย่างง่ายเพื่อช่วยชาวต่างชาติออกเสียงและจดจำคำของภาษาหนึ่งด้วยคำของอีกภาษาหนึ่งที่พวกเขาสามารถจดจำได้ แหล่งที่สามมีพื้นฐานมาจากการสร้างใหม่ในปัจจุบัน ประกอบด้วยพจนานุกรมภาษาตังกุตฉบับต่างๆ การบันทึกการออกเสียงในพจนานุกรมนี้ใช้หลักการของ fanqie ซึ่งยืมมาจากรูปแบบการออกเสียงภาษาจีน

N.A. Nevsky ได้สร้างรูปแบบทางไวยากรณ์ของภาษาตังกุตขึ้นมาใหม่และสร้างพจนานุกรมตังกุต-จีน-อังกฤษควบคู่ไปกับการนำเสนอผลงานเมื่อ พ.ศ. 2503 ในปัจจุบันมีการสอนทางด้านตังกุตศึกษาในจีนมากขึ้น รวมถึงมีการเรียนการสอนในไต้หวัน ญี่ปุ่น อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา

สำหรับในอังกฤษนั้น ในปี พ.ศ. 2561 ทางภาควิชาภาษาตะวันออก แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ก็ได้เปิดการเรียนภาษาตังกุตขั้นพื้นฐาน โดย ด.ร. เผิงเซี่ยงเฉียน (彭向前)ผู้เชี่ยวชาญภาษาตังกุตจากมหาวิทยาลัยหนิงเซี่ย ประเทศจีน มาทำการสอนที่เคมบริจด์เป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ดร. อิมเร กลัมบอส (Dr Imre Galambos) ผู้เชี่ยวชาญด้านตังกุตวิทยาและตุนหวงวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทำให้มหาวิทยาลัยเคมบริจด์เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาหลักที่สำคัญด้านตังกุตวิทยา(Tangutology) ประจำภูมิภาคยุโรป ที่ยังทำการสอนด้านนี้อยู่ในปัจจุบัน

ใกล้เคียง