ไวยากรณ์ ของ ภาษาทิเบต

การเรียงประโยค

เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา คำคุณศัพท์ตามหลังคำที่ขยาย คำกริยาวิเศษณ์มาก่อนคำกริยา คำแสดงความเป็นเจ้าของ มาก่อนสิ่งที่อ้างถึง

คำนาม

ภาษาเขียนสมัยโบราณ มี 9 การกคือการกสมบูรณ์ (ไม่มีเครื่องหมาย) การกความเป็นเจ้าของ (-gi, -gyi, -kyi, -’i, -yi) การกแสดงเครื่องมือ (-gi, -gyi, -kyi, -’i, -yi) การกแสดงสถานที่ (-na) การกทั้งหมด (allative case; -la) การกลงท้าย (-ru, -su, -tu, -du, -r) การกแสดงมารยาท (-dang) การกแสดงคำนาม (-nas) และการกแสดงอารมณ์ (-las) การแสดงการกจะเติมที่นามวลีไม่ได้เติมที่คำแต่ละคำ ปัจจัยแสดงคำนามคือ –pa, -ba หรือ –ma ใช้กับคำนาม การแสดงเพศใช้ po หรือ bo สำหรับบุรุษลึงค์และ mo สำหรับสตรีลึงค์ แสดงพหูพจน์โดยใช้ –rnams หรือ –dag เมื่อมีการเน้น ทั้ง 2 กลุ่มคำสามารถเชื่อมกันได้ เช่น rnams–dag หมายถึง กลุ่มที่มีสมาชิกหลายคน dag –rnams หมายถึง หลายกลุ่ม

คำสรรพนามที่มีได้แก่ สรรพนามแทนบุคคล สรรพนามชี้ให้เห็น สรรพนามแสดงคำถามและสรรพนามแสดงภาพสะท้อน

คำกริยา

คำกริยาไม่มีการผันตามบุคคลและจำนวน แต่มีการแบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อยตามหลักไวยากรณ์ทิเบตคือ ปัจจุบัน (Ida-ta) อดีต (’das-pa) อนาคต (ma-’ongs-pa) และการขอร้อง (skul-tshigs) คำกริยาส่วนใหญ่ที่อธิบายการกระทำที่ควบคุมไม่ได้จะไม่มีรูปแบบขอร้อง

คำกริยาส่วนใหญ่จะมีครบทั้ง 4 แบบ a หรือ e ในรูปปัจจุบันจะเป็น o ในรูปแบบการขอร้อง (เช่น byed, byas, bya, byos = ทำ) e ในรูปปัจจุบันจะเป็น a ในรุปแบบอดีตและอนาคต (เช่น len, blang, blang, = เอาไป) คำกริยาบางคำ i ในรูปปัจจุบันจะเป็น u ในรูปแบบอื่น ๆ (เช่น ’dzin, bzung, gzung, = เอาไป) –s ใช้ลงท้ายรูปแบอดีตและการขอร้อง คำกริยาบางคำมีไม่ครบ 4 แบบ โดยอาจจะมี 3, 2 หรือ 1รูปแบบก็ได้