ระบบการเขียน ของ ภาษาบาสก์

ภาษาบาสก์ใช้อักษรละตินในการเขียน

ตัวอักษรในปัจจุบัน
Aa อาJjota โยตาRere เอเร
Bbe เบKka กาSese เอเซ
Dde เดLele เอเลTte เต
Ee เอMeme เอเมUu อู
Fefe เอเฟNene เอเนXekis เอกิส
Gge เกÑeñe เอญเญZzeta เซตา
Hatxe อัตเชOo โอ
Ii อีPpe เป

ตัวอักษรพิเศษที่ใช้กันทั่วไป คือ ñ บางครั้งยังมีการใช้ ç และ ü ด้วย แต่จะไม่ใช้ตัว c (เซ), q (กู), v (อูเบ), w (อูเบบีโกอิตซา) และ y (อีเกรโกอา) ยกเว้นในคำยืม โดยไม่จัดว่าตัวอักษรเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในพยัญชนะบาสก์ ส่วนทวิอักษร (digraphs) dd, ll, rr, ts, tt, tx และ tz ซึ่งมีความสำคัญในการออกเสียง ถูกจัดให้เป็นอักษรคู่ (double letters)

ตัวอักษรและทวิอักษรแต่ละตัวจะแทนหน่วยเสียงเพียงหนึ่งเดียว ข้อยกเว้นหลักคือ เมื่อ l หรือ n มี i นำหน้า ในหลายภาษาถิ่นจะออกเสียง l และ n โดยยกลิ้นส่วนหน้าขึ้นสู่เพดานแข็ง (palatalization) ไปเป็นเสียง ll และ ñ แม้ว่าจะไม่ได้เขียนไว้ก็ตาม ดังนั้นคำว่า อีกูร์รีญา (ikurriña) อาจเขียนได้ว่า ikurrina โดยไม่มีการเปลี่ยนเสียง ในขณะที่คำว่า ไอย์โนอา (Ainhoa) จำเป็นต้องใช้ h (ซึ่งไม่ออกเสียง) เพื่อหยุดการแปรทางเสียงของ n

h โดยทั่วไปไม่ออกเสียง แต่ในบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือ หลายแห่งจะออกเสียงโดยมีเหตุผลหลักคือเพื่อการคงอยู่ของตัวอักษรนี้ในภาษาบาสก์

ในระบบการเขียนของซาบีโน อารานา (Sabino Arana - 1865-1903) ได้ใช้ตัว ĺ และ ŕ แทนที่ ll (เอเย) และ rr (เอเร) ตามลำดับ