ไวยากรณ์ ของ ภาษาปาทาน

ภาษาปาทานเรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา คำคุณศัพท์มาก่อนคำนาม นามและคำคุณศัพท์ผันตามเพศ (ชาย/หญิง) จำนวน (เอกพจน์/พหูพจน์) และการก (กรรมตรง/กรรมรอง) การกกรรมตรงใช้กับประธาน และกรรมที่ถูกกระทำโดยตรงในปัจจุบัน การกกรรมรองมักใช้ตามหลังบุพบทและใชในอดีตสำหรับประธานของสกรรมกิริยา ไม่มีคำนำหน้านามที่ชี้เฉพาะ แต่แทนที่ด้วยคำว่า นี่/นั่น ระบบของคำกริยาซับซ้อนมาก มีกาลต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ ปัจจุบันกาลธรรมดา มีเงื่อนไขหรือสมมติ อดีตกาลธรรมดา อดีตกาลกำลังกระทำ ปัจจุบันกาลสมบูรณ์ ภาษาปาทานเป็นภาษาประเภทสัมพันธการก

ภาษาปาทานเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน คำศัพท์ส่วนใหญ่จึงมีกำเนิดเกี่ยวข้องกับภาษาใกล้เคียง หลังจากศาสนาอิสลามเข้ามาสู่อัฟกานิสถาน ทำให้ภาษาปาทานได้รับอิทธิพลรวมทั้งคำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซีย

หลังจากเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ภาษาปาทานเขียนด้วยอักษรเปอร์เซีย-อาหรับ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในอินเทอร์เน็ต มีการใช้อักษรละตินเขียนภาษาปาทานมากขึ้น ภาษาปาทานมีอักษรหลายตัวที่ไม่มีในอักรเปอร์เซียอาหรับ เช่นเสียงม้วนลิ้นของ t, d, r, n จะใช้อักษรอาหรับมาตรฐาน ت د ر และ ن รวมกับพันดิกอยู่ข้างใต้ซึ่งคล้ายวงกลมเล็ก ๆ และยังมีอักษร ge และ xin ซึ่งใช้อักษรอาหรับมาตรฐาน ر และ س เติมจุดทั้งข้างบนและข้างล่าง