ไวยากรณ์ ของ ภาษาม้ง

การเรียงคำเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม เช่น เด๋เตาะหมี (หมากัดแมว) ไม่มีการเปลี่ยนรูปคำเพื่อแสดงกาล แต่ใช้การเติมคำบอกกาลเช่นเดียวกับภาษาไทย อดีตเติมคำว่าเหลอะไว้ท้ายประโยค เช่น เด๋เตาะหมีเหลอะ (หมากัดแมวแล้ว) อนาคตใช้คำว่าหยัววางไว้หน้ากริยา เช่น เด๋หยัวเตาะหมี (หมาจะกัดแมว) ประโยคปฏิเสธเติมคำว่าไม่ (จี่ หรือ ทจี่) หน้าคำกริยา เช่น เด๋ทจี่เตาะหมี (หมาไม่กัดแมว) ประโยคคำถามเติมคำว่าปั่วหรือหลอเข้าในประโยค คำว่าหลอนิยมวางไว้ท้ายประโยค ส่วนคำว่าปั่วนิยมวางไว้หน้ากริยา เช่น เด๋เตาะหมีหลอ หรือ เด๋ปั่วเตาะหมี (หมากัดแมวหรือ)

ภาษาม้งมีการใช้คำลักษณนามโดยจะเรียงคำแบบ จำนวนนับ-ลักษณนาม-นาม เช่น อ๊อตู่แหน่ง (สอง-ตัว-ม้า) คำลักษณนามที่สำคัญคือ ตู่ใช้กับสิ่งมีชีวิตทั้ง สัตว์และต้นไม้ ส่วนคนนั้นใช้ เล่ง เช่น อ๊อเล่ง (คนสองคน) ตร๊า ใช้กับเครื่องมือ เครื่องใช้ อาวุธ ได่ ใช้กับสิ่งที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนๆ แส้ฮ ใช้กับสิ่งที่เป็นเส้นยาวหรือเวลานานๆ ลู้ใช้กับคำนามทั่วไป จ๋อใช้กับคำนามที่มีมากกว่าหนึ่ง เช่น จ๋อแหน่ง (ม้าหลายตัว)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาม้ง http://hmongstudies.org/LemoineHSJ6.pdf http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=b... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=h... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=h... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=h... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=h... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=h... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=h... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=h... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=h...