ระบบเสียง ของ ภาษาลาว

พยัญชนะ

พยัญชนะต้น

พยัญชนะต้นภาษาลาวสำเนียงเวียงจันทร์มี 21 เสียงดังนี้

ริมฝีปากทั้งสองปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิก[m]
ມ,ໝ
[n]
ນ,ໜ
[ɲ]
ຍ,ຫຍ
[ŋ]
ງ,ຫງ
เสียงกักก้อง[b]
[d]
ไม่ก้อง ไม่มีลม[p]
[t]
[k]
[ʔ]
ອ*
ไม่ก้อง พ่นลม[pʰ]
ຜ,ພ
[tʰ]
ຖ,ທ
[kʰ]
ຂ,ຄ
เสียงระเบิด[tɕ]
เสียงแทรก[f]
ຝ,ຟ
[s]
ສ,ຊ
[h]
ຫ,ຮ
เสียงเปิด[ɹ]
ຣ,ຫຼ
[j]
[w]
เสียงเปิดข้างลิ้น [l]
* ອ /ʔ/ ที่เป็นพยัญชนะต้นหมายถึงเสียงเงียบ และดังนั้นมันจึงถูกพิจารณาว่าเป็นเสียงกัก เส้นเสียง

พยัญชนะต้นภาษาลาวสำเนียงขอนแก่นมี 20 เสียงดังนี้

ริมฝีปากทั้งสองปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิก[m]
[n]
[ɲ]
[ŋ]
เสียงกักก้อง[b]
[d]
ไม่ก้อง ไม่มีลม[p]
[t]
[k]
[ʔ]
อ*
ไม่ก้อง พ่นลม[pʰ]
ผ,พ
[tʰ]
ถ,ท
[kʰ]
ข,ค
เสียงระเบิด[tɕ]
เสียงแทรก[f]
ฝ,ฟ
[s]
ส,ช,ซ
[h]
ห,ฮ
เสียงเปิด[ʋ]
[j]
เสียงเปิดข้างลิ้น [l]
ร,ล

พยัญชนะสะกด

 ริมฝีปาก
ทั้งสอง
ริมฝีปากล่าง
-ฟันบน
ปุ่มเหงือกหลังปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิก [m]
  [n]
   [ŋ]
 
เสียงกัก[p̚]
  [t̚]
   [k̚]
 [ʔ]
*
เสียงเปิด [w]
   [j]
  
* เสียงกัก เส้นเสียง จะปรากฏเฉพาะหลังสระเสียงสั้นเมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด

สระ

เสียงสระในภาษาลาวซึ่งคล้ายคลึงกับเสียงสระภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน สะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน

สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง

 ลิ้นส่วนหน้าลิ้นส่วนหลัง
ปากเหยียดปากเหยียดปากห่อ
สั้นยาวสั้นยาวสั้นยาว
ลิ้นยกสูง/i/
xິ
/iː/
xີ
/ɯ/
xຶ
/ɯː/
xື
/u/
xຸ
/uː/
xູ
ลิ้นกึ่งสูง/e/
ເxະ
/eː/
ເx
/ɤ/
ເxິ
/ɤː/
ເxີ
/o/
ໂxະ, xົ
/oː/
ໂx
ลิ้นกึ่งต่ำ/ɛ/
ແxະ
/ɛː/
ແx
  /ɔ/
ເxາະ
/ɔː/
xໍ, xອ
ลิ้นลดต่ำ  /a/
xະ
/aː/
xາ
  

สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้

  • ເxຍ /iːa/ ประสมจากสระ อี และ อา
  • ເxືອ /ɯːa/ ประสมจากสระ อือ และ อา
  • xົວ /uːa/ ประสมจากสระ อู และ อา

เสียงวรรณยุกต์

ภาษาลาวเวียงจันทน์มีระดับเสียงวรรณยุกต์ 6 ระดับ: Low (เอก) Mid (สามัญ) High (ตรี) Rising (จัตวา) High Falling (ใกล้เคียงกับโท) และ Low Falling (โท) ระดับเสียงจะแตกต่างกัน ไปตามชนพื้นเมืองของผู้พูดและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เช่น ชาวหลวงพระบางจะใช้ ระดับเสียงวรรณยุกต์ 5 ระดับ คือ

  • กลางต่ำลงขึ้น
  • ต่ำขึ้น
  • กลางระดับ
  • สูงขึ้น
  • กลางขึ้น
วรรณยุกต์สัทอักษรสากลตัวอย่าง
ไทยอังกฤษอักษรลาวรูปปริวรรตสัทอักษรสากลเทียบเสียงไทย
(โดยประมาณเท่านั้น)
ความหมาย
เอกlow/◌̀/ [˨˩]ກາกา/kàː/ก่ากา,นกกา
จัตวาrising/◌̌/ [˨˦]ຂາขา/kʰǎː/ขาขา, อวัยวะใช้เดิน
สามัญmid/◌̄/ [˧]ຂ່າ,ຄ່າข่า,ค่า/kʰāː/คาข่า (หัวข่า), ค่า (คุณค่า)
โทต่ำlow-falling/◌᷆/ [˧˩]ຂ້າข้า/kʰa᷆ː/ข่า,ข้าข้า (สรรพนาม), ฆ่า, ข้าทาส
ตรีhigh/◌́/ [˦˥]ຄາคา/kʰáː/ค้าคา (คาที่), หญ้าคา
โทสูงfalling/◌̂/ [˥˩]ຄ້າค้า/kʰâː/ค่าค้า, ค้าขาย