ไวยากรณ์ ของ ภาษาวาไร

สรรพนาม

 การกสัมบูรณ์ (Absolutive)การกเกี่ยวพัน (Ergative)การกกรรมตรง (Oblique)
บุรุษที่ 1 เอกพจน์ako, aknakon, nak, koakon, ak
บุรุษที่ 2 เอกพจน์ikaw, kanimo, nim, moimo, im
บุรุษที่ 3 เอกพจน์hiya, siyaniyaiya
บุรุษที่ 1 พหูพจน์ รวมผู้ฟังkita, kitnatonaton
บุรุษที่ 1 พหูพจน์ ไม่รวมผู้ฟังkami, kamnamonamon
บุรุษที่ 2 พหูพจน์kamoniyoiyo
บุรุษที่ 3 พหูพจน์hira, siraniraira

คำเชื่อม

ภาษาวาไรไม่มีคำที่ตรงกับกริยา to be ในภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น ในภาษาตากาล็อก Siya ay maganda = หล่อนสวย คำ ay บอกถึงความเชื่อโดยทั่วไปแต่ไม่ได้ตรงกับ is ในภาษาอังกฤษ และเป็บคำเชื่อมบอกถึงการกลับประโยคในภาษาตากาล็อกด้วย แต่ภาษาวาไรไม่มีคำเชื่อมลักษณะนี้ คำว่า หล่อนสวยจะใช้ว่า Mahusay hiya หรือ Mahusay iton hiya โดย iton เป็นคำนำหน้านาม หรือประโยค นี่คือหมา ใช้ว่า Ayam ini คำว่าหมา (ayam) จะวางอยู่หน้าคำว่านี่ (ini) โดยไม่มีคำเชื่อม ภาษาวาไรจึงต่างจากภาษาตากาล็อกที่ไม่สามารถกลับให้ประธานขึ้นต้นประโยคได้

อย่างไรก็ตาม ภาษาวาไรยังมีโครงสร้างบอกถึง การเป็น จะเป็น และกลายเป็น เช่น

  • Makuri magin estudyante = ยากที่จะเป็นนักเรียน
  • Ako an magigin presidente = ฉันจะเป็นประธานาธิบดี
  • Ako an nagin presidente = ฉันกลายเป็นประธานาธิบดี