ลักษณะและตัวอย่าง ของ ภาษาวิบัติ

ผันอักษรและเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์[ต้องการอ้างอิง]
  • สนุ๊กเกอร์ (สนุกเกอร์)
  • โน๊ต (โน้ต)
สะกดผิดเพราะขี้เกียจพิมพ์ หรือเร่งรีบ[ต้องการอ้างอิง]
  • โทสับ (โทรศัพท์)
  • พุ่งนี้ (พรุ่งนี้)
ให้ดูแปลกตา[ต้องการอ้างอิง]
  • ชะมะ, ชิมิ, ชะ, ช่ายมะ (ใช่ไหม)
  • ป่าว , ป่ะ, ปล่าว (เปล่า)
  • คัย, ไค, ครัย, คราย (ใคร)
  • เตง, ตะเอง (ตัวเอง)
  • รึ, เหรอ, หรา, หรอ, อ่อ (หรือ)
  • ชั้น, ชั้ล, ช้าน (ฉัน)
  • เทอ, เทอร์, เทอว์ (เธอ)
  • แกร (แก)
  • ป๋ม (ผม)
  • บ่องตง (บอกตรงๆ)
  • ถ่ามตง (ถามตรงๆ)
  • ต่อมตง (ตอบตรงๆ)
คำที่สะกดผิดเพื่อแสดงอารมณ์[ต้องการอ้างอิง]
  • เป็นอะไร → เปงราย, เปนรัย, เปงรัย, เป็นอัลไล
  • ทำไม → ทามมาย, ทามมัย
  • จังเลย → จังรุย, จังเยย, จุงเบย
  • ไม่รู้ → มะรุ
  • เฮ้ย → เห้ย, เฮ่ย
  • น่ารักอะ → น่าร็อคอ่ะ, น่าร๊ากอ้ะ, ตั้ลล๊ากอ่ะ
คำที่สะกดผิดเพื่อลดความหยาบของคำ หรืออาจใช้หลีกเลี่ยงการกรองคำหยาบของซอฟต์แวร์[ต้องการอ้างอิง]
  • กู → กรู, กุ, กรุ, ตู, ตรู
  • มึง → มรึง, เมิง, มืง, มุง
  • สัตว์ → สาด, สัส, สัก, แสรด
  • โคตร → โคโตะ, โคด , โครต ,โคตะระ
คำเลียนเสียง โดยส่วนใหญ่จะเพิ่มทัณฑฆาต หรือซ้ำตัวอักษร[ต้องการอ้างอิง]
  • อ๊าย → แอร๊ยย, อร๊ายยย
  • มัน → มันส์
  • วู้ → วู๊วววววววว์