ภาษาอะลิวต์
ภาษาอะลิวต์

ภาษาอะลิวต์

ภาษาอะลิวต์ (อังกฤษ: Aleut language; อะลิวต์: Unangam Tunuu)[3] เป็นภาษาที่พูดโดยชาวอะลิวต์ (อูนางัค) ซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่เกาะอะลูเชียน หมู่เกาะพริบิลอฟ หมู่เกาะคอมมานเดอร์ และคาบสมุทรอะแลสกา (ในภาษาอะลิวต์คือ อาลัคสคัค ซึ่งเป็นที่มาของชื่อรัฐอะแลสกา)[4] ภาษาอะลิวต์เป็นภาษาเดียวในสาขาอะลิวต์ของตระกูลภาษาเอสกิโม–อะลิวต์ ประกอบด้วยภาษาถิ่นสามภาษา ได้แก่ ภาษาถิ่นตะวันออก ภาษาถิ่นแอตกา และภาษาถิ่นแอตตู (สูญแล้วในปัจจุบัน)[4]แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ประเมินว่าเหลือผู้พูดภาษาอะลิวต์อย่างคล่องแคล่วอยู่น้อยกว่า 100 ถึง 150 คน[5][6][7] ภาษาอะลิวต์ถิ่นตะวันออกและถิ่นแอตกาถูกจัดอยู่ในภาวะ "ใกล้สูญอย่างวิกฤตและรุนแรง"[8] ภารกิจในการฟื้นฟูภาษาอะลิวต์ส่วนใหญ่ถูกทิ้งไว้ให้กับรัฐบาลท้องถิ่นและองค์กรชุมชน โรงเรียนส่วนใหญ่ในภูมิภาคที่ใช้ภาษาอะลิวต์ดั้งเดิมไม่มีวิชาภาษาหรือวัฒนธรรมอะลิวต์ใด ๆ ในหลักสูตรของตน ส่วนโรงเรียนที่มีวิชาดังกล่าวก็ยังไม่สามารถผลิตผู้พูดในระดับคล่องแคล่วหรือแม้กระทั่งผู้พูดในระดับชำนาญได้[9]

ภาษาอะลิวต์

ตระกูลภาษา
เอสกิโม–อะลิวต์
  • ภาษาอะลิวต์
ระบบการเขียน อักษรละติน (อะแลสกา)
อักษรซีริลลิก (อะแลสกา, รัสเซีย)
ออกเสียง [uˈnaŋam tuˈnuː]
จำนวนผู้พูด 150 คน[1]  (2552–2554)
ISO 639-3 ale
ISO 639-2 ale
ชาติพันธุ์ ชาวอะลิวต์ 7,234 คน
ประเทศที่มีการพูด รัฐอะแลสกา (หมู่เกาะอะลูเชียน, หมู่เกาะพริบิลอฟ, คาบสมุทรอะแลสกาทางตะวันตกของอ่าวสเตโพวัก), ดินแดนคัมชัตคา (หมู่เกาะคอมมานเดอร์)
ภาษาทางการ  รัฐอะแลสกา[2]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาอะลิวต์ http://www.apiai.com/cultural_heritage.asp?page%3D... http://www.uaf.edu/anlc/languages/al/ http://www.akleg.gov/basis/Bill/Text/28?Hsid=HB021... http://www.akleg.gov/basis/get_documents.asp?sessi... http://www.unesco.org/new/en/culture/themes/endang... https://www.uaf.edu/anlc/languages/stats/ https://web.archive.org/web/20130224064849/http://... https://web.archive.org/web/20180123190725/http://... https://web.archive.org/web/20180730210753/http://...