สัณฐานวิทยา ของ ภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม

ราก

ภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมเป็นภาษาที่มีการผัน หมายถึงมีการผันหน่วยคำต่าง ๆ เพื่อแสดงหน้าที่ในภาษาแตกต่างกัน และภาษานี้มีการสร้างหน่วยคำจากการใช้หน่วยคำเติม แสดงว่ารากคำต่าง ๆ ในภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม คือ คำรวมกับหน่วยคำเติมเป็นหัวคำ แล้วนำหัวคำมาผันรุปตามหน้าที่นั้น ๆ ในประโยค[4]

การเปลี่ยนส่วนของคำ

หน่วยคำภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมจำนวนมากมี e เป็นสระแท้ การเปลี่ยนส่วนของคำของภาษานี้มักจะเปลี่ยน e สั้นเป็น o สั้น เปลี่ยน e ยาว (ē) เป็น o ยาว (ō) หรือไม่มีสระเลย การแปลงสระนี้มีความเกี่ยวข้องทั้งการผันคำนามและกริยา[5]

คำนาม

ภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมมีการผันคำนาม 8-9 รูปแบบคือ[6]

  • กรรตุการก คือการผันที่แสดงถึงประธานของกริยา เช่น They ใน They ate ในภาษาอังกฤษ
  • กรรมการก คือการผันที่แสดงถึงกรรมตรงของกริยา
  • สัมพันธการก คือการผันที่แสดงถึงคำนามที่ไปดัดแปลงคำนามอื่น (เช่นแสดงความเป็นเจ้าของ)
  • สัมปทานการก คือการผันที่แสดงถึงกรรมรองของกริยา เช่น Jacob in Maria gave Jacob a drink ในภาษาอังกฤษ ถ้าเทียบกับภาษาไทย ภาษาไทยจะใช้บุพบท แก่..., เพื่อ..., ให้... หรือ ต่อ... เพื่อแสดงเช่น เขาให้ของแก่แม่ของเขา แม่ของเขาคือกรรมรอง
  • กรณการก คือการผันที่แสดงถึงเครื่องมือ หรือด้วย หรือหมายถึง เครื่องมือต่าง ๆ เช่นในภาษาไทย เขาเดินด้วยขา ขาคือเครื่องมือ
  • อปาทานการก คือการผันที่บ่งชี้การเคลื่อนที่ เคลื่อนย้าย หรือแยกตัวออกจากบางอย่าง ถ้าเทียบกับภาษาไทย ภาษาไทยใช้บุพบท จาก..., ออกจาก... เพื่อแสดงเช่น เขาย้ายบ้านออกจากเมือง เมืองจะมีการผัน
  • สถานการก คือการผันที่บ่งชี้สถานที่ต่าง ๆ ถ้าเทียบกับภาษาไทย คำหลังคำบุพบทที่บอกสถานที่เช่น บน หรือ ใต้ จะมีการผัน เช่น หนังสืออยู่บนโต๊ะ โต๊ะจะมีการผัน
  • สัมโพธนาการก คือการกเรียกขาน เช่น "I don't know, John" "John" จะถูกผัน
  • allative ไม่มีชื่อเป็นภาษาไทย คือการผันที่แสดงการเคลื่อนที่ เคลื่อนย้าย หรือแยกตัวเข้า พบเฉพาะในกลุ่มภาษาอานาโตเลียเท่านั้น

และมีเพศสามเพศได้แก่ เพศชาย เพศหญิง และเพศกลาง

คำสรรพนาม

ภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมนั้นสามารถสืมหาคำสรรพนามได้ยาก เนื่องจากภาษาหลัง ๆ ได้มีการแปลงเป็นหลายแบบ ภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมมีบุรุษสรรพนาม ในบุรุษที่ 1 และ 2 ในขณะที่บุรุษที่ 3 มีการใช้นิยมสรรพนาม (เช่น นี่ นั่น โน่น) แทน บุรุษสรรพนามของภาษานี้แต่ละอย่างเป็นเอกลักษณ์ตัวมันเอง และบางตัวมีการใช้สองแบบ เป็นเรื่องชัดเจนในบุรุษสรรพนามที่ 1 แบบเอกพจน์ ที่แบบแรกจะเก็บไว้ในขณะแบบที่ 2 มีไว้สำรองซึ่งปรากฎในภาษาอังกฤษทั้งสองแบบคือ I และ me และยังมีการผันกรรมการก สัมพันธการก และสัมปทานการกสองแบบอีกด้วย[7]

บุรุษสรรพนาม[7]
ที่ 1ที่ 2
เอกพจน์พหูพจน์เอกพจน์พหูพจน์
กรรตุการก*h₁eǵ(oH/Hom)*wei*tuH*yuH
กรรมการก*h₁mé, *h₁me*nsmé, *nōs*twé*usmé, *wōs
สัมพันธการก*h₁méne, *h₁moi*ns(er)o-, *nos*tewe, *toi*yus(er)o-, *wos
สัมปทานการก*h₁méǵʰio, *h₁moi*nsmei, *ns*tébʰio, *toi*usmei
กรณการก*h₁moí*nsmoí*toí*usmoí
อปาทานการก*h₁med*nsmed*tued*usmed
สถานการก*h₁moí*nsmi*toí*usmi

คำกริยา

คล้ายกับคำนาม ล้วนมีผลกับเสียงสระ การแบ่งกริยาภาษานี้แบ่งตามวิธีพื้นฐานมุมมองทางไวยากรณ์

คำกริยาสามารถแบ่งรูปแบบได้เป็น

  • นามธรรม คือคำกริยาแสดงสภาวะที่เกี่ยวกับ ความรู้สึกนึกคิด, ความสัมพันธ์, ประสาทสัมผัส, สภาวะความเป็นอยู่ และการวัดหรือการประมาณค่าต่าง ๆ
  • ไม่สมบูรณ์ คือคำกริยาที่ยังไม่สมบูรณ์ มีการดำเนินการอยู่ ทำซ้ำ หรือประจำวัน
  • สมบูรณ์ คือคำกริยาที่ยังสมบูรณ์แล้ว สามารถมองได้การกระทำ

คำกริยามีวาจกสองแบบคือ

คำกริยามีบุรุษอยู่สามแบบ (ที่ 1, ที่ 2, ที่ 3)

คำกริยามีจำนวนอยู่สามแบบ

ด้านล่างคือการผันคำกริยาตามคำลงท้ายที่เป็นไปได้จาก Sihler ซึ่งเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน

Sihler (1995)[8]
AthematicThematic
เอกพจน์ที่ 1*-mi*-oh₂
ที่ 2*-si*-esi
ที่ 3*-ti*-eti
ทวิพจน์ที่ 1*-wos*-owos
ที่ 2*-th₁es*-eth₁es
ที่ 3*-tes*-etes
พหูพจน์ที่ 1*-mos*-omos
ที่ 2*-te*-ete
ที่ 3*-nti*-onti

เลข

สามารถบูรณะได้ตามนี้

Sihler[8]
หนึ่ง*Hoi-no-/*Hoi-wo-/*Hoi-k(ʷ)o-; *sem-
สอง*d(u)wo-
สาม*trei- (ระดับเต็ม), *tri- (ระดับศูนย์)
สี่*kʷetwor- (ระดับ-o), *kʷetur- (ระดับศูนย์)
(ดูเพิ่มเติมที่กฎ kʷetwóres)
ห้า*penkʷe
หก*s(w)eḱs; อาจจะมาจาก *weḱs
เจ็ด*septm̥
แปด*oḱtō, *oḱtou หรือ *h₃eḱtō, *h₃eḱtou
เก้า*(h₁)newn̥
สิบ*deḱm̥(t)

100, *ḱm̥tóm น่าจะมีความหมายเริ่มแรกว่าจำนวนใหญ่[9]

ใกล้เคียง