ไวยากรณ์ ของ ภาษาอูบึก

ภาษาอูบึกเป็นภาษารูปคำติดต่อ เช่น /ʃəkʲʼaajəfanamət/ เราไม่อาจจะกลับไปได้ , /awqʼaqʼajtʼba/ ถ้าคุณเคยพูด การแบ่งแยกระหว่างคำนามกับคำกริยาไม่ชัดเจน คำนามบางคำใช้เป็นรากศัพท์ของคำกริยา เช่น /məzə/ เด็ก, /səməzəjtʼ/ ฉันเป็นเด็กคนหนึ่ง และคำกริยาที่เป็นคำนามได้ โดยเติมคำอุปสรรคสำหรับคำนาม เช่น /qʼa/ พูด, /səqʼa/ คำพูดของฉัน

คำนาม

ระบบคำนามของภาษาอูบึกไม่ซับซ้อน มีสามการก โดยการกกรรมตรง-เกี่ยวพันมีโครงสร้างเหมือนกันแต่มีหน้าที่ต่างกัน ทำให้มีทั้งหมด 4 การก

  • การกสัมบูรณ์ แสดงด้วยรากศัพท์ ใช้แสดงประธานของอกรรมกิริยาและกรรมตรงของสกรรมกิริยา เช่น /tət/ ผู้ชาย
  • การกกรรมตรง-เกี่ยวพัน แสดงด้วย -/n/; แสดงประธานของสกรรมกิริยา เป้าหมายของกรรมรองหรือกรรมรองที่ไม่มีปัจจัยอื่น เช่น /məzən/ เด็ก (ในตำแหน่งกรรมของประโยค)
  • การกสถานที่ แสดงด้วย -/ʁa/, ตรงกับคำว่า ใน บน หรือ ที่

การแสดงความเป็นเครื่องมือบางครั้งจัดเป็นอีกการกหนึ่ง คำปรบทจัดเป็นกรรมรอง คำนามไม่มีการแบ่งเพศ คำนำหน้านามคือ /a/- จำนวนแสดงเฉพาะนามในการกเกี่ยวพัน นามในการกสมบูรณ์แสดงรากศัพท์หรือปัจจัยของคำกริยา คำคุณศัพท์โดยทั่วไปใช้ปัจจัยคล้ายกับคำนาม

คำกริยา

มีการแบ่งกาลเป็นอดีต ปัจจุบันและอนาคต และมีจุดมุ่งหมายไม่สมบูรณ์ กริยาสถานะและกริยาต่อเนื่องมีความแตกต่างกันแบบเดียวที่พบในภาษาอาหรับ คำกริยามีรูปประธานหลายรูป คำสันธาน และ แต่ แสดงโดยปัจจัยของคำกริยา คำกริยาวิเศษณ์และกริยาช่วยแสดงโดยปัจจัยของคำกริยาเช่นเดียวกัน

คำถาม

แสดงโดยอุปสรรคหรือปัจจัยของคำกริยา เช่น

  • คำถามใช่-ไม่ใช่ ใช้ -/ɕ/: /wana awbjaqʼaɕ/? คุณเห็นนั่นไหม?
  • คำถามต้องการรายละเอียด ใช้ -/j/: /saakʲʼa wəpʼtsʼaj/? คุณชื่ออะไร?