สำเนียง ของ ภาษาอู๋

แบ่งออกเป็นสองกลุ่มหลักคือภาษาอู๋เหนือและอู๋ใต้ ซึ่งเข้าใจกันได้เพียงบางส่วน ตามที่จำแนกโดย Yan (2006)[1] สำเนียงของภาษาอู๋มี 6 สำเนียงคือ

  • ไท่หู ใช้พูดทางใต้ของมณฑลเจียงซู ทางใต้ของหนานตง จิงเจียงและตันหยาง เซี่ยงไฮ้ และทางเหนือของเจ้อเจียง เป็นกลุ่มของสำเนียงที่ใหญ่ที่สุดของภาษาอู๋ ภาษาจีนเซี่ยงไฮ้อยู่ในกลุ่มนี้
  • ไทโจว (台州)ใช้พูดในบริเวณไทโจว มณฑลเจ้อเจียง เป็นสำเนียงทางใต้ ซึ่งมีความใกล้เคียงกับสำเนียงไท่หูที่จัดเป็นสำเนียงทางเหนือ และสามารถเข้าใจกันได้
  • โอวเจียง(甌江/瓯江)/ตงโอว(東甌片/东瓯片) ใช้พูดบริเวณเวินโจว มณฑลเจ้อเจียง เป็นสำเนียงที่ต่างจากสำเนียงอื่นๆของภาษาอู๋มาก
  • อู้โจว (婺州) ใช้พูดในบริเวณจินหัว มณฑลเจ้อเจียง สามารถเข้าใจกันได้กับสำเนียงไท่หูในระดับหนึ่ง แต่ในระดับที่น้อยกว่าสำเนียงไทโจว
  • ชู่ฉวี(處衢/处衢) ใช้พูดในบริเวณฉวีโจว ลี่สุ่ย มณฑลเจ้อเจียง และบางส่วนของมณฑลเจียงซี
  • ฉวนโจว(宣州) ใช้พูดในมณฑลอันฮุย เป็นสำเนียงที่ใช้พูดน้อยลงหลังเหตุการณ์กบฏไท่ผิง และถูกแทนที่ด้วยผู้อพยพเข้ามาใหม่ที่พูดภาษาจีนกลาง