โครงสร้างของภาษา ของ ภาษาเพิร์ล

ตัวอย่างการเขียนโปรแกรม Hello World ด้วยภาษาเพิร์ล

#!/usr/bin/perlprint "Hello, world!\n";    # '\n' is a 'newline'

บรรทัดแรกเป็นการประกาศให้ระบบปฏิบัติการค้นหาตัวแปลภาษาเพิร์ลตามตำแหน่งที่ระบุ ส่วนบรรทัดที่สองเป็นการพิมพ์ข้อความ (หรือสตริง) ว่า "Hello, world!" และสัญลักษณ์ในการขึ้นบรรทัดใหม่ออกมา ตามด้วยความเห็นหรือคอมเมนต์ว่า '\n' is a 'newline' ในบรรทัดเดียวกัน สำหรับรุ่น 5.10 สามารถเขียนได้อีกแบบว่า

#!/usr/bin/perlsay "Hello, world!";

ตัวแปร

ภาษาเพิร์ลมีตัวแปรอยู่ 4 ชนิด ได้แก่

  • สเกลาร์ สามารถเก็บข้อมูลได้ 1 อย่าง อาจจะเป็น ตัวเลข, สตริง หรือ รีเฟอเรนซ์ ก็ได้
  • อาเรย์ เป็นเสมือนกลุ่มของสเกลาร์ที่ถูกเรียงไว้
  • แฮช หรืออีกชื่อหนึ่งคือแถวลำดับแบบจับคู่ เป็นเสมือนตู้ล็อกเกอร์สำหรับเก็บสเกลาร์ กุญแจที่จะใช้ไขตู้ล็อกเกอร์จะเรียกว่า keys
  • ไฟล์แฮนเดิล เป็นตัวแปรที่ใช้สำหรับ I/O โดยเฉพาะ อาจจะใช้สำหรับรับการสั่งงานจากผู้ใช้ผ่านทาง Standard Input หรือใช้สำหรับแสดงผลออกทาง Standard Output