อักษร ของ ภาษาโรฮีนจา

มีระบบการเขียนที่หลากหลาย ซึ่งมีทั้งอักษรอาหรับ[1] อักษรอูรดู อักษรฮานีฟี อักษรพม่า และล่าสุดคืออักษรโรมัน

อักษรอาหรับ

การเขียนด้วยอักษรอาหรับเกิดขึ้นเมื่อ 300 ปีที่ผ่านมา เมื่อยะไข่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ชาวโรฮีนจาใช้ภาษาอังกฤษและอูรดูในการสื่อสารด้วยการเขียน หลังจากที่พม่าได้รับเอกราชและใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ ชาวโรฮีนจาเริ่มพยายามพัฒนาระบบการเขียนเป็นของตนเอง ใน พ.ศ. 2518 ได้พัฒนาระบบการเขียนโดยนำอักษรอูรดูมาดัดแปลง แต่การเขียนแบบนี้ยังยากสำหรับชาวโรฮีนจา และต้องมีการเพิ่มสัญลักษณ์แทนเสียงวรรณยุกต์[2]

อักษรฮานีฟี

โมลานา อานิฟ ได้พัฒนาการเขียนจากขวาไปซ้าย โดยใช้อักษรที่มีลักษณะคล้ายอักษรอาหรับและได้ยืมอักษรบางตัวจากอักษรโรมันและอักษรพม่า แต่อักษรนี้จะต้องระวังเกี่ยวกับความสับสนและยากสำหรับการใช้งานในคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ซึ่งต้องพัฒนายูนิโคดต่อไป[3]

อักษรโรมัน

A aB bC cÇ çD dE eF f
G gH hI iJ jK kL lM m
N nÑ ñO oP pQ qR rS s
T tU uV vW wX xY yZ z

อี เอ็ม สิดดิควิว ได้พัฒนาระบบการเขียนที่ใช้อักษรละตินเพียงอย่างเดียว โดยใช้อักษร 26 ตัว เครื่องหมายการออกเสียงสระ 5 ตัว และอักษรเพิ่ม 2 ตัว เพื่อแสดงเสียงม้วนลิ้นและเสียงนาสิก ซึ่งสระจะมีรูปที่เน้น (á é í ó ú) สำหรับ c ในภาษาโรฮีนจาแทนเสียง /ช/ หรือ /sh/, ç แทนเสียง r ม้วนลิ้น และ ñ ใช้แทนเสียงนาสิก