ภาษีเงินได้ ของ ภาษีอากรในประเทศไทย

นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นภาษีอากรที่จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กิจการร่วมค้า มูลนิธิ และอื่น ๆ มีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 23 ในกรอบบัญชีปี 2555 และร้อยละ 20 ในปี 2556

บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคือภาษีที่เก็บจากบุคคลทั่วไปหรือจากหน่วยงานที่มีลักษณะพิเศษ ประเทศไทยจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามแหล่งเงินได้และหลักถิ่นที่อยู่ ประเภทของเงินพึงได้ของบุคคลธรรมดา เช่น เงินได้เนื่องจากการทำงาน เงินได้จากการลงทุนในสินทรัพย์ เงินได้จากการให้เช่า และอื่น ๆ โดยมีข้อยกเว้นบางประการ มีอัตราภาษีที่กำหนดแบบอัตราก้าวหน้า ระหว่างปี 2532 ถึง 2557 ประเทศไทยมีการเปลี่ยนโครงสร้างอัตราภาษีแล้ว 3 ครั้ง และเริ่มมีการยกเว้นการจัดเก็บภาษีแก่บุคคลที่มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 50,000 บาทต่อปีในปี 2542 ก่อนเพิ่มขึ้นเป็น 80,000 บาทในปี 2546 และไม่เกิน 150,000 บาทในปี 2551[2]:12–13