ภูมิทัศน์วัฒนธรรม

ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (อังกฤษ: Cultural landscape) คือพื้นที่ที่ได้รับการนิยามไว้โดยกรรมาธิการมรดกโลกว่าเป็นพื้นที่เด่นทางภูมิศาสตร์ หรือทรัพย์สินที่ “...เป็นตัวแทนของธรรมชาติและผลงานของมนุษย์” ที่มีลักษณะเด่นเฉพาะ[1] แนวคิดนี้เกิดจากการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาขึ้นในแวดวงของแหล่งมรดกโลกนานาชาติ (ยูเนสโก) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามระหว่างประเทศที่จะไกล่เกลี่ยปรองดอง “...คติ “ทวินิยมแห่งธรรมชาติและวัฒนธรรม” ที่โด่งดังแพร่หลายมากในโลกตะวันตก [2]
กรรมาธิการมรดกโลกได้บ่งชี้และรับรองประเภทของภูมิทัศน์วัฒนธรรมไว้ 3 ประเภท ได้แก่ (1) ภูมิทัศน์ที่เกิดจากการจงใจของมนุษย์ (2) ภูมิทัศน์ทั้งหมดที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ทั้งด้วยความจงใจทำ และไม่ได้จงใจทำ และ (3) ภูมิทัศน์ที่มีร่องรอยการปรุงแต่งโดยมนุย์น้อยที่ (แต่มีคุณค่าสูง) ภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่คัดจาก “แนวทางปฏิบัติของกรรมาธิการ” มีดังนี้ [3]:
(1) “ภูมิทัศน์ที่ได้รับการออกแบบและสรรค์สร้างอย่างจงในโดยมนุษย์”
(2) “ภูมิทัศน์ที่มีวิวัฒนาการมาในเชิงอินทรีย์” (organically evolved) ซึ่งอาจเป็น “ภูมิทัศน์แผ่นดินร้าง” (หรือซากดึกดำบรรพ์) หรือ “ภูมิทัศน์ต่อเนื่อง” (continuing landscape)
(3) “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเชิงเชื่อมโยง” (associative cultural landscape) ที่อาจมีคุณค่าทาง “ศาสนา ศิลปะหรือที่เชื่อมโยงทางวัฒนธรรมกับองค์ประกอบทางธรรมชาติ”

ใกล้เคียง

ภูมิทัศน์วัฒนธรรม ภูมิทัศน์เมือง ภูมิทัศน์และอิคารัสปีกหัก ภูมิทัศน์ ภูมิทัศน์ประหยัดพลังงาน ภูมิทัศน์วัฒนธรรมหุบเขาออร์ค็อง ภูมิทัศน์วัฒนธรรมนาขั้นบันไดหงเหอฮาหนี่ ภูมิทัศน์และโบราณสถานแห่งหุบผาบามิยัน ภูมิทัศน์วัฒนธรรมทะเลสาบตะวันตกในหางโจว ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของจังหวัดบาหลี : ระบบซูบะก์ หลักการตามปรัชญาไตรหิตครณะ