การแบ่งภูมิภาค ของ ภูมิภาคของประเทศไทย

การแบ่งแบบ 6 ภูมิภาค
การแบ่งแบบ 4 ภูมิภาค

การแบ่งอย่างเป็นทางการ

การแบ่งภูมิภาคแบบ 6 ภูมิภาค ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478[1] และจัดให้เป็นการแบ่งภูมิภาคอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2520 ตามการแบ่งของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสภาวิจัยแห่งชาติ การแบ่งแบบนี้ประกอบไปด้วย 6 ภูมิภาค ได้แก่

การแบ่งแบบสี่ภูมิภาค

การแบ่งภูมิภาคแบบ 4 ภูมิภาค ใช้ในบางบริบทในการบริหารและสถิติ และยังเป็นการแบ่งกลุ่มวัฒนธรรมแบบกว้าง ๆ โดยจัดให้ภาคตะวันตกและภาคตะวันออกรวมอยู่ในภาคกลาง ในขณะที่จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และอุทัยธานี อยู่ในภาคเหนือ การแบ่งแบบนี้ใช้กันมากในโทรทัศน์แห่งชาติ เมื่อพูดถึงสภาพอากาศหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับภูมิภาค

กรมอุตุนิยมวิทยา

กรมอุตุนิยมวิทยาได้แบ่งภูมิภาคออกเป็น 7 ภูมิภาค เพื่อวัตถุประสงค์ทางอุตุนิยมวิทยา[2] แตกต่างจากการแบ่งแบบ 4 ภาค คือ มีการแยกภาคตะวันออกออกจากภาคกลาง ภาคใต้จะแบ่งเป็นภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคใต้ฝั่งตะวันออก จังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดอุทัยธานีจัดให้อยู่ในภาคกลาง และจังหวัดเพชรบุรีกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จัดให้อยู่ในภาคใต้ฝั่งตะวันออก

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้แบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค เพื่อวัตถุประสงค์ทางการท่องเที่ยว[3] ได้แก่

การแบ่งตามการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มีการแบ่งภาคเหนือกับภาคกลางเหมือนกันกับการแบ่งแบบสี่ภูมิภาค และมีการแบ่งภาคตะวันออกกับภาคกลางเหมือนกันกับการแบ่งแบบหกภูมิภาค

การเปรียบเทียบ

จังหวัด6 ภูมิภาค (ภูมิศาสตร์)4 ภูมิภาค (การเมือง)6 ภูมิภาค (อุตุนิยมวิทยา)5 ภูมิภาค (การท่องเที่ยว)
อำนาจเจริญ, บึงกาฬ, บุรีรัมย์, ชัยภูมิ, กาฬสินธุ์, ขอนแก่น, เลย, มหาสารคาม, มุกดาหาร, นครพนม, นครราชสีมา, หนองบัวลำภู, หนองคาย, ร้อยเอ็ด, สกลนคร, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, อุบลราชธานี, อุดรธานี, ยโสธรตะวันออกเฉียงเหนือตะวันออกเฉียงเหนือตะวันออกเฉียงเหนือตะวันออกเฉียงเหนือ
เชียงใหม่, เชียงราย, ลำปาง, ลำพูน, แม่ฮ่องสอน, น่าน, พะเยา, แพร่, อุตรดิตถ์เหนือเหนือเหนือเหนือ
ตากตะวันตก
สุโขทัย, พิษณุโลก, พิจิตร, กำแพงเพชร, เพชรบูรณ์กลาง
นครสวรรค์, อุทัยธานีกลาง
อ่างทอง, ชัยนาท, พระนครศรีอยุธยา, กรุงเทพมหานคร, ลพบุรี, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, สระบุรี, สิงห์บุรี, สุพรรณบุรีกลางกลาง
นครนายกตะวันออก
ฉะเชิงเทรา, จันทบุรี, ชลบุรี, ปราจีนบุรี, ระยอง, สระแก้ว, ตราดตะวันออกตะวันออก
กาญจนบุรี, ราชบุรีตะวันตกกลางกลาง
เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์ใต้ฝั่งตะวันออก/ใต้ฝั่งอ่าวไทย
ชุมพร, นครศรีธรรมราช, นราธิวาส, ปัตตานี, พัทลุง, สงขลา, สุราษฎร์ธานี, ยะลาใต้ใต้ใต้
กระบี่, พังงา, ภูเก็ต, ระนอง, สตูล, ตรังใต้ฝั่งตะวันตก/ใต้ฝั่งอันดามัน

ใกล้เคียง

ภูมิภาคของประเทศไทย ภูมิภาคของญี่ปุ่น ภูมิภาฑิต นิตยารส ภูมิภาค ภูมิภาคของประเทศเวียดนาม ภูมิภาคของประเทศอังกฤษ ภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนีย ภูมิภาคดาริเอน ภูมิภาคของทวีปเอเชีย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้