ประวัติ ของ มงกุฎจักรพรรดิแห่งออสเตรีย

เมื่อเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โดยเฉพาะมงกุฎแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ถูกเก็บรักษาไว้ที่เมืองเนิร์นเบิร์กในเยอรมนีปัจจุบัน และจะนำออกจากเมืองได้ก็ต่อเมื่อมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประมุขของจักรวรรดิบางพระองค์จึงทรงสร้างมงกุฎส่วนพระองค์ เช่นสำหรับในโอกาสที่ทรงเข้าร่วมการประชุม “ราชสภาเยอรมัน” (Reichstag (Imperial Diet)) ที่ทรงใช้มงกุฎของพระองค์เอง รูปที่เก่าที่สุดในการสวมมงกุฎจักรพรรดิแห่งออสเตรียเป็นภาพของสมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซิมิลเลียนที่ 1ที่สร้างโดยอัลเบรชท์ ดือเรอร์ซึ่งเป็นภาพที่อาจจะมีอิทธิพลต่อการออกแบบ “มงกุฎจักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 2” ที่สร้างต่อมา

อันที่จริงแล้วมงกุฎจักรพรรดิไม่เคยได้ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสำหรับจักรวรรดิออสเตรียเพราะตามการสืบสันตติวงศ์โดยตรงของราชวงศ์ฮับส์บวร์กซึ่งเป็นการกระทำที่ถูกต้องโดยไม่จำเป็นต้องมีการสวมมงกุฎ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจึงเป็นเพียงการแสดงโอกาสเป็นทางการว่าได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเท่านั้น

“มงกุฎจักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 2” สร้างในปี ค.ศ. 1602 ที่ปรากโดยยาน เวร์เมเย็น (Jan Vermeyen) ช่างทองผู้มีฝีมือคนหนึ่งของสมัยนั้นผู้ถูกเรียกตัวมาเป็นพิเศษจากอันท์เวิร์พ มงกุฎแบ่งเป็นสามส่วน: ฐานมงกุฎ (circlet หรือ “Kronreif”), โค้งมงกุฎ (Kronbügel) และโดมมงกุฎ (Mitre หรือ “Mitra”) ฉะนั้นจึงมีลักษณะเป็นมงกุฎแบบโดม (Mitral crown) ที่มาจากเครื่องสวมศีรษะของบาทหลวง

ใกล้เคียง

มงกุฎ มงกุฎพระสันตะปาปา มงกุฎดอกส้ม มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด มงกุฎอิมพีเรียลสเตต มงกุฎดอกหญ้า มงกุฎทิวดอร์ มงกุฎจักรพรรดิแห่งออสเตรีย มงกุฎไพร มงกุฎราชาภิเษกพระเจ้าจอร์จที่ 4