หลักกฎหมายและป้องกันปัญหามลภาวะทางแสง ของ มลภาวะทางแสง

ในหลายประเทศได้กำหนดมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมและป้องกันมลภาวะทางแสงโดยอาศัยแนวคิดพื้นฐานทางกฎหมาย หลายประการ[11]

1. หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) กล่าวคือการแสวงหาแนวทางและวิธีการในการควบคุมและป้องกันมลภาวะทางแสงจำเป็นต้องคำนึงควบคู่ไปกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การกำหนดมาตรการในการควบคุมการขยายตัวของชุมชนเมืองเพื่อป้องกันปัญหามลภาวะทางแสง

2. หลักการระวังไว้ก่อน (Precautionary Principle) กล่าวคือการระวังถึงภัยของมลภาวะทางแสงโดยอาศัยแนวทางของการขจัดและการป้องกันไม่ให้มนุษย์และระบบนิเวศได้รับผลกระทบจากมลภาวะทางแสงในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้มีส่วน ด้เสียอื่นจำเป็นต้องตระหนักและระมัดระวังภัยที่จะเกิดขึ้น เช่น สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งสหรัฐอเมริกา (Illuminating Engineering Society—IES)

3. หลักการป้องกันล่วงหน้า (Prevention Principle)กล่าวคือภาครัฐควรร่วมมือกับภาคเอกชนในการกำหนดแนวทางและวิธีการลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายทาง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากมลภาวะทางแสง เช่น การระบุพื้นที่กำหนดความเสี่ยงจากภัยมลภาวะทางแสงและการกำหนดพื้นที่ในการควบคุมมลภาวะทางแสงในระดับต่าง ๆ

4. หลักความร่วมมือจากทุกภาคส่วน (Cooperation Principle) กล่าวคือไม่ว่าจะเป็นภาครัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนและภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วมหรือมีความร่วมมือ กันในการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านมลภาวะทางแสงและร่วมกันปฏิบัติตามแนวทางระเบียบและกฎหมายที่ภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้บัญญัติไว้