การก่อตัว ของ มหานวดาราประเภท_1เอ

แบบจำลองหนึ่งที่อธิบายการก่อตัวของมหานวดาราประเภทนี้ คือ ระบบดาวคู่ที่กระชับแน่น ระบบดาวคู่ต้นกำเนิดประกอบด้วยดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลัก ซึ่งดาวฤกษ์หลักมีมวลมากกว่าดาวฤกษ์รอง และด้วยความที่มีมวลมากกว่า ดาวฤกษ์หลักจะวิวัฒนาการกลายเป็นแขนงดาวยักษ์อะซิมโทติกก่อนคู่ของมัน โดยผิวห่อหุ้มของดาวจะขยายตัวอย่างมาก หากดาวฤกษ์ทั้งสองใช้ผิวห่อหุ้มร่วมกันแล้ว ระบบดาวคู่จะสูญเสียมวลไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้โมเมนตัมเชิงมุม รัศมีวงโคจร และคาบของการโคจรลดลง หลังจากดาวฤกษ์หลักเสื่อมสลายไปเป็นดาวแคระขาว ดาวฤกษ์รองจะวิวัฒนาการไปเป็นดาวยักษ์แดงและเข้าสู่ขั้นการพอกพูนมวลให้แก่ดาวหลัก ระหว่างช่วงเวลาสุดท้ายซึ่งใช้ผิวห่อหุ้มร่วมกันนี้ ดาวฤกษ์ทั้งสองจะหมุนเข้ามาใกล้กันมากขึ้นเนื่องจากสูญเสียโมเมนตัมเชิงมุมไป วงโคจรที่เกิดขึ้นนี้อาจมีคาบที่สั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น[16][17] หากการพอกพูนมวลดำเนินไปได้นานพอ ดาวแคระขาวอาจมีมวลถึงขีดจำกัดจันทรสิกขาได้

รูปแบบที่สองที่เป็นไปได้น้อยกว่า คือกลไกสำหรับจุดระเบิดมหานวดาราประเภท 1เอ เกิดจากการรวมตัวของดาวแคระขาวสองดวงที่มีมวลรวมกันแล้วมากกว่าขีดจำกัดจันทราสิกขา (เรียกว่า ดาวแคระขาวมวลซูเปอร์จันทราสิกขา)[18][19] ในกรณีเช่นนี้ มวลทั้งหมดจะไม่อยู่ใต้ขีดจำกัดจันทรสิกขา นี่เป็นคำอธิบายหนึ่งในหลายๆ ข้อที่พยายามอธิบายถึงต้นกำเนิดดาวฤกษ์มวลมาก (2 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) ซึ่งทำให้เกิดมหานวดารา SN 2003fg[20][21]

คาดกันว่าดาวโดดเดี่ยวในดาราจักรทางช้างเผือกจะเกิดการชนกันขึ้นหนึ่งครั้งทุก ๆ 107-1013 ปี ซึ่งเกิดน้อยครั้งกว่าการเกิดโนวามาก[22] อย่างไรก็ตาม ในบริเวณใจกลางอันหนาแน่นของกระจุกดาวทรงกลมมีการชนกันบ่อยครั้งกว่ามาก[23] (ดูเปรียบเทียบกับ ดาวแปลกพวกสีน้ำเงิน) กรณีที่น่าจะเกิดขึ้น ได้แก่ การชนกันในระบบดาวคู่ หรือระหว่างระบบดาวคู่สองระบบซึ่งมีดาวแคระขาวอยู่ในระบบ การชนดังกล่าวสามารถกลายมาเป็นระบบดาวคู่ที่กระชับแน่นระบบเดียวซึ่งมีดาวแคระขาวสองดวง วงโคจรของพวกมันจะค่อย ๆ เสื่อมลงและรวมตัวเข้าด้วยกันผ่านพื้นผิวห่อหุ้มที่ใช้ร่วมกัน[24]

ดาวแคระขาวสามารถพอกพูนมวลจากดาวคู่ชนิดอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งรวมไปถึงดาวยักษ์เล็ก หรือแม้กระทั่งดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลัก (ถ้าวงโคจรอยู่ใกล้กันมากพอ) กระบวนการวิวัฒนาการแท้จริงในระยะการพอกพูนมวลนี้ยังคงไม่แน่นอน ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับอัตราการพอกพูนมวลและการถ่ายเทโมเมนตัมเชิงมุมไปให้กับคู่ดาวแคระขาว[25]

มหานวดาราประเภท 1เอ แตกต่างจากมหานวดาราประเภทอื่น เพราะมันเกิดขึ้นทั่วไปในดาราจักรทุกประเภทรวมถึงดาราจักรรี พวกมันไม่แสดงว่าจะเกิดขึ้นในบริเวณก่อตัวของดาวฤกษ์ในปัจจุบันแต่อย่างใด[26] เนื่องจากดาวแคระขาวเกิดขึ้นในระยะสุดท้ายของช่วงวิวัฒนาการดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลัก ระบบดาวที่อยู่มานานแสนนานนี้จึงอาจเดินทางมาไกลจากบริเวณที่ก่อตัวขึ้นแต่ดั้งเดิมมาก หลังจากนั้นระบบดาวคู่อันกระชับแน่นอาจใช้เวลาอีกหลายล้านปีในขั้นตอนการถ่ายเทมวล (ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดการระเบิดโนวา) ก่อนที่เงื่อนไขจะเหมาะสมกับการเกิดมหานวดาราประเภท 1เอ ขึ้น[27]

  • กระบวนการก่อตัว
  • แก๊สกำลังถูกดึงออกจากดาวยักษ์ใหญ่เพื่อสร้างจานพอกพูนมวลรอบคู่ของมัน (เช่น ดาวแคระขาว) Gas ภาพจาก NASA
  • ลำดับภาพถ่ายดาวฤกษ์ V445 Puppis ซึ่งน่าจะเป็นดาวฤกษ์ต้นกำเนิดมหานวดาราประเภท 1เอ ครอบคลุมเวลานานกว่าสองปี เปลือกสองขั้วถูกดีดออกด้วยความเร็ว 24 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมงหลังจากมีการพอกพูนมวลจากคู่ของมัน ภาพจาก ESO
  • ภาพวาดมหานวดาราประเภท 1เอ ของจิตรกร

ใกล้เคียง

มหานวดารา มหานวดาราประเภท 1เอ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหานวดาราประเภท_1เอ http://cosmos.swin.edu.au/entries/typeiasupernovap... http://cosmos.swin.edu.au/entries/typeibsupernovas... http://space.newscientist.com/article/dn10114 http://space.newscientist.com/article/dn10883-brig... http://www.spaceflightnow.com/news/n0308/06superno... http://adsabs.harvard.edu/abs/1939PNAS...25..118W http://adsabs.harvard.edu/abs/1976IAUS...73...75P http://adsabs.harvard.edu/abs/1979ApJ...232..404C http://adsabs.harvard.edu/abs/1987ApJ...323..140L http://adsabs.harvard.edu/abs/1992AJ....103.1788V