มหาประติมากรรม
มหาประติมากรรม

มหาประติมากรรม

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งมหาประติมากรรม (อังกฤษ: Monumental sculpture) เป็นคำที่มักจะใช้ในประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาและการวิพากษ์งานศิลปะ แต่ยังเป็นความหมายที่ยังไม่ลงตัว มหาประติมากรรมรวมแนวคิดสองอย่างๆ หนึ่งคือการใช้สอย และ อีกอย่างหนึ่งคือขนาด และอาจจะรวมแนวคิดที่สามที่เป็นแนวคิดเชิงอัตวิสัย มหาประติมากรรมจะใช้กับประติมากรรมทั้งหมดที่มีขนาดใหญ่ รูปคนที่มีขนาดครึ่งหนึ่งของคนจริงขึ้นไปก็ถือกันว่าเป็นมหาประติมากรรมตามทัศนคติของนักประวัติศาสตร์ศิลป์[1] และศิลปะร่วมสมัยก็ใช้สำหรับขนาดทั้งหมดของงานประติมากรรม ฉะนั้นมหาประติมากรรมจึงต่างจากจุลประติมากรรม, งานโลหะขนาดเล็ก, งานแกะสลักงาช้าง, บานพับภาพสองหรืองานในทำนองเดียวกันนอกจากนั้นมหาประติมากรรมเป็นคำที่ใช้สำหรับการสร้างหรือส่วนประกอบของอนุสาวรีย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้รวมทั้งหัวเสา, งานแกะนูนที่ติดกับผนังของสิ่งก่อสร้างจึงรวมอยู่ในบริบทนี้ด้วย แม้ว่าอาจจะเป็นงานชิ้นที่ไม่ใหญ่นัก ประโยชน์การใช้สอยของอนุสาวรีย์ก็เพื่อเป็นการระบุที่หมายของที่ฝังศพ หรือสำหรับเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว หรือเป็นสิ่งที่ใช้ในการแสดงอำนาจของประมุขของประชาคม ทั้งนี้ก็รวมทั้งอนุสรณ์สถานของศาสนสถาน แนวคิดที่สามอาจจะเจาะจงเฉพาะงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง คำอธิบายของคำว่า “Monumental” ใน “A Dictionary of Art and Artists” โดย ปีเตอร์ และ ลินดา เมอร์เรย์ให้คำจำกัดความไว้ว่า[2]:เป็นคำที่ใช้กันจนเกินควรในประวัติศาสตร์ศิลป์ปัจจุบัน และ การวิพากษ์ จุดประสงค์ก็เพื่อที่จะสื่อทัศนคติเกี่ยวกับงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง หรือ องค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่, สง่า และ ยกระดับความคิด, ง่ายต่อการออกแบบและการสร้าง, โดยไม่เป็นการแสดงความโอ่อ่า แต่เป็นการพยายามสร้างงานที่มีความเป็นถาวรภาพ และ เป็นงานสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ ...ซึ่งมิใช้คำพ้องกับคำว่า 'ใหญ่'

ใกล้เคียง

มหาประชาชนสุดสัปดาห์ มหาประลัยตัดมหาประลัย มหาปรัชญาปารมิตาสูตร มหาปรัสถานิกบรรพ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก มหาประชาฤทธีฉันท์ มหาประลัย คนเกราะเหล็ก มหาประติมากรรม มหาปรินิพพาน มหาประลัย คนเกราะเหล็ก 3