ที่ตั้ง ของ มหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์

ในชั้นเดิม มหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์มีวิทยาเขต 7 แห่ง โดยมี 5 แห่งในจังหวัดแมนเชสเตอร์ (ออลเซนส์, ไอทูน, ดิดบรี, เอลิซาเบธ กาสเคลล์ และโฮลลิงส์) และอีก 2 แห่งในจังหวัดเชชเชอร์ (อัลซาเกอร์ และ ครูว์) ต่อมามหาวิทยาลัยได้ขายพื้นที่ทำการสอนบางส่วนให้เอกชนนำไปพัฒนา และได้ย้ายมาอยู่ที่วิทยาเขตออลเซนส์ วิทยาเขตครูว์ และปัจจุบันกำลังพัฒนาวิชาเขตเบอร์ลีย์ที่ชานเมืองแมนเชสเตอร์[4]

วิทยาเขตออลเซนตส์

อนุสาวรีย์จอห์น ดาลตัน หล่อโดยวิลเลียม ทีด (William Theed) นอกอาคารถนนเชเชอร์

วิทยาเขตออลเซนตส์ (All Saints Campus) เป็นที่ตั้งหลักของมหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วยอาคารคณะมนุษยศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ (อาคารเจฟฟรีย์ แมนตัน (Jeoffrey Manton) และอาคารมาเบล ไทล์โคต (Mabel Tylecote))[5] นอกจากนี้ยังมีคณะอื่น ๆ เช่น

คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งที่อาคารจอห์น ดาลตัน[6] ตามชื่อของนักฟิสิกส์ผู้เสนอแนวคิดด้านอะตอม ประกอบด้วยสี่ภาควิชา คือ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การดูแลสุขภาพ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีดิจิทัล ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ และภาควิชาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ด้านหลังอาคารจอห์น ดาลตัน เป็นอาคารเจดีซึ่งเป็นอาคารปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย[7]

คณะศิลปกรรมศาสตร์ (ใช้ชื่อ วิทยาลัยศิลปกรรมแมนเชสเตอร์) มีที่ตั้งในวิทยาเขตออลเซนตส์ ประกอบด้วยสี่ภาควิชาคือ ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์) ภาควิชาศิลปะ ภาควิชาการออกแบบ ภาควิชาสื่อ[8] พร้อมด้วยหอศิลป์เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชม[9]

มหาวิทยาลัยได้สร้างอาคารมูลค่า 75 ล้านปอนด์ สำหรับคณะบริหารธุรกิจและนิติศาสตร์ซึ่งย้ายจากวิทยาเขตไอทูนซึ่งยกเลิกไป[10] อาคารใหม่เมื่อสร้างเสร็จจะรองรับนักศึกษาได้ 5,000 คน พร้อมคณาจารย์-เจ้าหน้าที่อีก 250 คน[11]

ภายในวิทยาเขตออลเซนตส์ มีห้องสมุดเซอร์ เคนเนท กรีน เป็นหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัย เน้นด้านศิลปะและการออกแบบ ภายในห้องสมุดนอกจากหนังสือแล้วยังมีส่วนจัดแสดงงานศิลปะ อาทิ บัตรอวยพรยุคสมเด็จพระราชาธิบดีเอ็ดเวิร์ด และสมเด็จพระราชีนีนาถวิกตอเรีย[12] ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยได้รับความอนุเคราะห์ช่วยจัดทำรายการบรรณานุกรมโดยโครงการบรรณานุกรมเบอร์มิงแฮม[13] นอกจากนี้ หลังจากการเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมกลุ่มห้องสมุดการศึกษาแห่งแมนเชสเตอร์ หรือในปัจจุบันได้ขยายเป็นกลุ่มห้องสมุดเพื่อการศึกษาภาคตะวันตกเฉียงเหนือ[14]

อาคารจอห์น ดาลตัน

นอกจากคณะวิชาที่กล่าวมาแล้ว ยังมีคณะคหกรรมศาสตร์โฮลลิงส์ ทำการสอนด้านอาหาร สิ่งทอ และการโรงแรม

วิทยาเขตเชชเชอร์

นอกจากวิทยาเขตออลเซนตส์ที่ตั้งใจกลางเมืองแมนเชสเตอร์แล้ว มหาวิทยาลัยยังเปิดสอนคณะครุศาสตร์ที่วิทยาเขตเชชเชอร์และวิทยาเขตเบอร์ลีย์[15] ยิ่งไปกว่านั้น วิทยาเขตเชชเชอร์ยังเป็นที่ตั้งของสาขาวิชาธุรกิจ ศิลปะร่วมสมัย วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย และสหศาสตรศึกษา[16]

วิทยาเขตเบอร์ลีย์

มหาวิทยาลัยได้มีโครงการจัดตั้งวิทยาเขตเพิ่มเติมที่เบอร์ลีย์ฟีลด์ ใจกลางเมืองแมนเชสเตอร์ สำหรับใช้ทำการสอนด้านครุศาสตร์และสร้างหอพักนักศึกษาเพิ่มเติมให้ได้ตามความต้องการ[17]

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์ http://www.artdes.mmu.ac.uk/about/ http://www.cheshire.mmu.ac.uk/departments/ http://www.finance.mmu.ac.uk/uploads/1/ACCOUNTS_00... http://www2.hlss.mmu.ac.uk/about-hlss/buildings-fa... http://www.holdengallery.mmu.ac.uk/about/ http://www.ioe.mmu.ac.uk/about/ http://www.irm.mmu.ac.uk/ http://www.sci-eng.mmu.ac.uk/about/location/defaul... http://www.specialcollections.mmu.ac.uk/ http://www.mmu.ac.uk/