ประวัติ ของ มหาวิทยาลัยบริสตอล

ยุคเริ่มแรก

มหาวิทยาลัยบริสตอลก่อตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2419 ในฐานะวิทยาลัยอุดมศึกษาบริสตอล ซึ่งต่อมาได้ควบรวมเข้ากับโรงเรียนเทคนิคพาณิชยนาวี (ก่อตั้ง พ.ศ. 2138 ควบรวม พ.ศ. 2452) [6] และ วิทยาลัยแพทย์บริสตอล (ก่อตั้ง พ.ศ. 2376 ควบรวม พ.ศ. 2436) [7][8] โดยมีอิซัมบาร์ด โอเวน (Isambard Owen) หลานอาของอิซัมบาร์ด บรูเนล เป็นอธิการบดีคนแรก และมีเฮนรี โอเวอร์ตัน วิลส์ (Henry Overton Wills) เป็นนายกสภาคนแรก โดยอธิการบดีได้เลือกสรรสีแดงซึ่งเป็นสีของโตรกเอวอน (Avon Gorge) หลังฝนตก เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย เมื่อแรกตั้ง มหาวิทยาลัยมีนักศึกษาปริญญาตรีเพียง 288 คน และนักศึกษาอื่นอีก 400 คน นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหราชอาณาจักรที่เปิดรับนึกศึกษาทั้งชายและหญิงเสมอภาคกัน[9] ถึงกระนั้น ก่อนปี พ.ศ. 2449 นักศึกษาหญิงยังไม่ได้รับอนุญาตให้เรียนวิชาแพทยศาสตร์[10]มหาวิทยาลัยได้รับเงินทุนประเดิมส่วนหนึ่งจากตระกูลฟราย (Fry) และตระกูลวิลส์ ซึ่งทั้งสองเป็นตระกูลพ่อค้ายาสูบ ทำให้มหาวิทยาลัยเริ่มมีความมั่นคงสามารถลงทุนเพื่อการศึกษาของนักศึกษาได้ และเจริญขึ้นตามลำดับ โดยในปี พ.ศ. 2444 จอร์จ วิลส์ (George Wills) ได้รับที่ดินผืนหนึ่งทางตะวันตกของเมืองสำหรับใช้เป็นลานกีฬาของมหาวิทยาลัย ครั้นถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มหาวิทยาลัยประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรง คือสูญเสียรายได้จากค่าเล่าเรียนถึงร้อยละ 20 กระนั้นทางราชการก็ได้บัญชาให้มหาวิทยาลัยวิจัยแก๊สพิษและวัตถุระเบิดเพื่อที่จะได้รับเงินสนับสนุนเพิ่ม กระนั้น ปัญหาไม่ได้จำกัดแต่ช่วงสงครามเท่านั้น แต่ได้ขยายออกไปหลังสงครามด้วย การที่มีสงครามนี้เอง ทำให้มหาวิทยาลัยได้ทำงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ออกมามากจนมีชื่อเสียงเพิ่มขึ้น รวมไปถึงได้เปิดโอกาสให้สตรีเข้ามามีบทบาทในงานบริหารการศึกษา อาทิ แต่งตั้งวินิเฟรด เชปแลนด์ (Winifred Shepland) เป็นนายทะเบียนหญิงคนแรกของมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร ถึงกระนั้น อาคารบางหลังของมหาวิทยาลัยได้รับความเสียหาย พร้อมกับหนังสือจำนวนมากที่ขนมาจากราชวิทยาลัยลอนดอน

ยุคสงคราม

มหาวิทยาลัยได้จัดสร้างห้องปฏิบัติการฟิสิกส์เฮนรี วิลส์ ขึ้นใกล้ ๆ กับโรงเรียนประถมบริสตอล (Bristol Grammar School) มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านมาทำงานในห้องปฏิบัติการนี้ หนึ่งในนั้น มีพอล ดิแรก ซึ่งจบการศึกษาปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย ก่อนจะไปศึกษาปริญญาเอกด้านคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ก่อนจะมาสร้างผลงานจนได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปี พ.ศ. 2476[11] นอกเหนือจากนี้ เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด[12] เซซิล พาวเวลล์ (Cecil Powell) (พ.ศ. 2493) [13] ฮันส์ เบเทอ (พ.ศ. 2510) และเนวิลล์ ฟรานซิส (Nevill Francis) (พ.ศ. 2550) [14]หลังจากที่จอร์จ วิลส์ ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2444 แล้ว จอร์จ อัลเฟรด วิลส์ (George Alfred Wills) และเฮนรี เฮอร์เบิร์ต วิลส์ (Henry Herbery Wills) บุตร ได้อุทิศเงินสร้างอาคารอนุสรณ์ตระกูวิลส์ ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นสถานีทำการสอนสำนักวิชานิติศาสตร์และสาขาวิชาโลกศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาคารอนุรักษ์[15] อาคารหลังดังกล่าวสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2456 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2468[16] นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2453 ได้ซื้ออาคารวิกตอเรียรูมส์ (Victoria Rooms) สำหรับใช้เป็นสโมสรนักศึกษา [9] ซึ่งปัจจุบันเป็นภาควิชาดุริยศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาคารอนุรักษ์เช่นกัน[17]ครั้นถึง พ.ศ. 2472 วินสตัน เชอร์ชิลล์ ได้รับตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย[9]จากนั้นมีริชาร์ด ฮอลเดน รับตำแหน่งต่อ[10][18]

นักศึกษาราชวิทยาลัยแห่งลอนดอน (King’s College London) ที่อพยพมาเรียนที่มหาวิทยาลัยบริสตอล ราว ๆ พ.ศ. 2483

ยุคหลังสงคราม

หลังสงคราม มหาวิทยาลัยเริ่มกลับมาพัฒนาเต็มตัวอีกครั้ง โดยในปี พ.ศ. 2489 มหาวิทยาลัยเปิดสาขาวิชาการละครเป็นที่แรกในสหราชอาณาจักร[9] พร้อม ๆ กับตั้งเงินทุนสำหรับให้ทหารผ่านศึกใช้ในการศึกษาและตั้งตัว จำนวนนักศึกษาที่มาเรียนมีมากขึ้น ๆ จนมหาวิทยาลัยต้องจัดหาอาคารใหม่ในปี พ.ศ. 2498 เพื่อรองรับนักศึกษาวิศวกรมศาสตร์ ต่อมาได้มีการย้ายไปยังอาคารใหม่ที่กว้างขวางกว่าเดิม รวมถึงจัดหาสถานที่ตั้งสโมสรนักศึกษาใหม่ในย่านตำบลคลิฟตันในปี พ.ศ. 2503 แทนอาคารวิกตอเรียรูมส์ที่คับแคบ กระนั้นอาคารใหม่ก็มีรูปแบบสถาปัตยกรรมไม่สวยงามเท่าอาคารเดิม จนได้รับคำตำหนิอย่างมาก[19] .[20] ต่อมา มหาวิทยาลัยจัดทำแผนแม่บทที่จะย้ายสโมสรนักศึกษาอีกครั้ง[21][22] พร้อมกันนี้เอง จำนวนหอพักทั้งของมหาวิทยาลัยและเอกชนมีเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาจากต่างเมือง

อาคารวิกตอเรียรูมส์

ล่าสุดมหาวิทยาลัยได้มีการลงทุนวิจัย ดังนี้พ.ศ. 2543 จัดตั้งศูนย์วิจัยและวิสาหกิจ.[23]พ.ศ. 2545 จัดตั้งศูนย์กีฬา [24]พ.ศ. 2547 จัดตั้งห้องปฏิบัติการวิศวกรรมพลศาสตร์ มูลค่า 18.5 ล้านปอนด์ สำหรับใช้ศึกษาด้านพลศาสตร์ของเครื่องยนต์ นับเป็นห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยที่สุดในยุโรป[25]พ.ศ. 2548 จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการเรียนการสอนเคมี (Centre for Excellence in Teaching & Learning (CETL)) แห่งเดียวในสหราชอาณาจักร[26]กันยายน พ.ศ. 2552 เปิดศูนย์วิทยาศาสตร์นาโนและควอนตัมสนเทศ มูลค่า 11 ล้านปอนด์ ศึกษาวิจัยงานด้านควอนตัม อาทิ แก้วทำความสะอาดตัวเอง (self-cleaning glass) และได้ชื่อว่าเป็นอาคารที่เงียบที่สุด [27]

พื้นที่มหาวิทยาลัย อาคารส่วนใหญ่ใช้เป็นที่ตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัย ตรงกลางเยื้องไปทางซ้ายเป็นอาคารอนุสรณ์ตระกูลวิลส์

นอกเหนือจากนี้มหาวิทยาลัยมีแผนปรับปรุงพื้นที่ย่านมหาวิทยาลัย[28] หนึ่งในนั้นมหาวิทยาลัยได้เริ่มก่อสร้างอาคารชีวศาสตร์ (bioscience) ใหม่ มูลค่า 50 ล้านปอนด์ เพื่อเป็นสถานศึกษาวิจัยชั้นสูง เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554[29]

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยบริสตอล http://www.merchantventurers.com/charitable-activi... http://www.coimbra-group.eu/index.php?page=members http://web.archive.org/web/20070927233714/http://w... http://web.archive.org/web/20070930181805/http://w... http://web.archive.org/web/20071126123449/http://w... http://web.archive.org/web/20071126124416/http://w... http://nobelprize.org/nobel_prizes/physics/laureat... http://nobelprize.org/nobel_prizes/physics/laureat... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.archiveshub.ac.uk/news/03121903.html