ประวัติ ของ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2542[1] และได้สถาปนาวิทยาลัยขึ้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 โดยได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจาก สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 [2] ต่อมาได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงประเภทเป็น "มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น" เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2549[3]

มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้คนไทยมีการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น มีความรู้ความสามารถในระดับที่สามารถแข่งขันทัดเทียมกับประเทศต่าง ๆ ในยุคโลกาภิวัฒน์ ก้าวทันเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีความเป็นสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมุ่งให้การศึกษาที่ก้าวทันต่อความก้าวหน้าเชิงธุรกิจ กอปรด้วยความรู้ทางการบริหารจัดการและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จึงมีปณิธานและความมุ่งมั่นที่จะเป็นสถาบันอุดมศึกษาสำหรับชนในสหัสวรรษใหม่ที่เตรียมบัณฑิตให้มีความเพียบพร้อมในการดำรงชีวิต การทำงาน มีจิตสำนึกแห่งความเป็นผู้ประกอบการ โดยอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย

มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น "มหาวิทยาลัยเส้นทางสู่การเป็นผู้ประกอบการ (GATEWAY TO ENTREPRENEURSHIP)"คิดนอกกรอบ ตอบโจทย์ด้วยการฝึกทำธุรกิจจริงที่ผนวกความเชี่ยวชาญทุกสาขาของธุรกิจพร้อมเป็นนักบริหารที่สร้างสรรค์ ก้าวสู่การเป็นนักบริหารอนาคตไกล ที่เหนือกว่า นอกจากความรู้ด้านการบริหารธุรกิจต่างๆ ยังสอนเน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ที่ตอบโจทย์ หามุมมองใหม่ๆทางธุรกิจ รวมทั้งการปลูกฝังมุมมองการเป็นผู้ประกอบการ พร้อมให้ฝึกฝนทำธุรกิจจริงให้นักศึกษามีพื้นฐานพร้อมประสบการณ์นอกกรอบ ตอบโจทย์ด้วยการฝึกทำธุรกิจจริงที่ผนวกความเชี่ยวชาญทุกสาขาของธุรกิจพร้อมเป็นนักบริหารที่สร้างสรรค์ ก้าวสู่การเป็นนักบริหารอนาคตไกล ที่เหนือกว่า นอกจากความรู้ด้านการบริหารธุรกิจต่างๆ ยังสอนเน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ที่ตอบโจทย์ หามุมมองใหม่ๆทางธุรกิจ รวมทั้งการปลูกฝังมุมมองการเป็นผู้ประกอบการ พร้อมให้ฝึกฝนทำธุรกิจจริง ให้นักศึกษามีพื้นฐานพร้อมประสบการณ์

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร