มหาวิทยาลัยมัทราส
มหาวิทยาลัยมัทราส

มหาวิทยาลัยมัทราส

มหาวิทยาลัยมัทราส (อังกฤษ: University of Madras หรือ Madras University) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลประจำรัฐในเมืองเจนไน (ชื่อเดิม มัทราส) รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย[2] ก่อตั้งขึ้นในปี 1857 ภายใต้ความร่วมมือของรัฐบาลและคณะนิติบัญญัติภายใต้รัฐบาลบริเตนประจำอังกฤษในขณะนั้น[3]มหาวิทยาลัยมัทราสเป็นมหาวิทยาลัยการวิจัยชนิดคอลลิกิเอต (collegiate) และมีทั้งหมดหกวิทยาเขตในเจปาวก์ (Chepauk), มารีน่า, Guindy, Taramani, มทุราโวยัล (Maduravoyal) และ เชตเปต (Chetpet) เปิดการเรียนการสอนในมากกว่า 230 หลักสูตร ภายใต้ 87 หน่วยงานด้านวิชาการที่ทำงานใน 18 สถาบันย่อย และเปิดสอนในหลายสาขา เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา มนุษยศาสตร์ การบริหาร และแพทยศาสตร์ ในวิทยาลัยร่วม 121 สถาบันและสถาบันวิจัยภายใต้การรับรอง 53 แห่ง นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยี, โฟตอนิกส์ และประสาทวิทยาพิษ (Neurotoicity) ของประเทศ[4][5][6] และมีศูนย์การศึกษาขั้นสูง (centres of advanced study; CAS) 3 แห่งในด้านชีวฟิสิกส์, พฤกษศาสตร์ และคณิตศาสตร์ศิษย์เก่าสำคัญของมหาวิทยาลัยมัทราสได้แก่ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์สองท่าน คือ ซี วี รามัน (C.V. Raman) และ สุพรหมันยัน จันทรเสขร (Subrahmanyan Chandrasekhar) รวมทั้งประธานาธิบดีอินเดีย 5 คน และนักคณิตศาสตร์ชื่อดังอีกหลายคน เช่น ศรีนิวาสา รามานุชัน (Srinivasa Ramanujan)

มหาวิทยาลัยมัทราส

เครือข่าย UGC, NAAC, AIU
เว็บไซต์ www.unom.ac.in
สถาปนา 1857; 164 ปีที่แล้ว (1857)
ประเภท มหาวิทยาลัยประจำรัฐ
จำนวนบัณฑิตศึกษา 3,239[1]
ประเทศ ประเทศอินเดีย
จำนวน ป.เอก 1,099[1]
มาสคอต สิงโต
คติพจน์ Doctrina Vim Promovet Insitam (ภาษาละติน)
รองอธิการบดี ศ. ทุไรสมี (Prof. Duraisamy)
อธิการบดี ราชปาลรัฐทมิฬนาฑู
วิทยาเขต เมือง
ที่ตั้ง เจนไน, ทมิฬนาฑู, ประเทศอินเดีย
13°5′2″N 80°16′12″E / 13.08389°N 80.27000°E / 13.08389; 80.27000พิกัดภูมิศาสตร์: 13°5′2″N 80°16′12″E / 13.08389°N 80.27000°E / 13.08389; 80.27000
จำนวนผู้ศึกษา 4,819[1]
คติพจน์อังกฤษ "Learning Promotes Natural Talent"
(การเรียนรู้พาสู่พรสวรรค์ธรรมชาติ)
สีประจำสถาบัน      สีคาร์ดินัล
จำนวนอาจารย์ 345[1]

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร