ประวัติ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ไฟล์:PSRU.jpgป้ายมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว)

ยุคที่ 1 โรงเรียนพิษณุวิทยายน

ในปี พุทธศักราช 2464 รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนได้เรียนหนังสือ จึงความต้องการครูเพิ่มมากขึ้น มณฑลพิษณุโลก จึงได้ทำการเพิ่มหลักสูตรวิชาชีพครูขึ้นในโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลพิษณุโลก ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จะได้รับวุฒิประกาศนียบัตรประโยคครูมูลและบรรจุให้เข้ารับราชการครูทันที[1]

ต่อมาในปี พุทธศักราช 2469 มณฑลพิษณุโลก ได้รับงบประมาณจากกระทรวงธรรมการ และเงินสมทบของพ่อค้าประชาชนสร้างอาคารเรียนโรงเรียนฝึกกหัดประจำมณฑลขึ้นในบริเวณพระราชวังจันทน์ และได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานนามโรงเรียนและเชิญเสด็จมาทรงเปิดอาคารเรียน โดยทรงพระราชทานามว่า โรงเรียนพิษณุวิทยายน และทรงเสด็จพระราชดำเนินพร้อมกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี มาทรงเปิดอาคารเรียน เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2469 เวลาประมาณ 15.30 น. ต่อมาโรงเรียนนี้ได้ย้ายสถานที่และไฟไหม้อาคารที่ย้ายไปใหม่ ทางราชการจึงสั่งยุบโรงเรียน[1]

ยุคที่ 2 โรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พิษณุโลก

ในปี พุทธศักราช 2476 กระทรวงธรรมการได้เปิดแผนกฝึกหัดครูขึ้นในโรงเรียนสตรีประจำมณฑล พิษณุโลก จัดการศึกษาในหลักสูตรประโยคครูมูล (ครู ป.) หลักสูตรประโยคครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ครู.ว) และหลัดสูตรเป็นประกาศนียบัตรครูประชาบาล (ป.ป.) ต่อมาในปี พ.ศ. 2486 แผนกฝึกหัดครูได้ถูกแยกออกมาเป็นอีกโรงเรียนหนึ่ง ใช้ชื่อว่าโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พิษณุโลก ขึ้นกับกรมวิสามัญศึกษา[1]

ในปี พ.ศ. 2497 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ตั้งกรมการฝึกหัดครูขึ้น จึงโอนโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พิษณุโลก ไปสังกัดกรรมการฝึกหัดครู และปรับปรุงหลักสูตรเป็นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) และใน พ.ศ. 2498 รัฐบาลได้สร้างโรงเรียนขึ้นมาใหม่ บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ตรงข้ามกับบริเวณเดิมและยกให้กับโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พิษณุโลก และได้ย้ายไปตั้ง ณ ที่ใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2499[1]

ยุคที่ 3 โรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงคราม

หลังจากโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พิษณุโลก ได้ย้ายมาตั้งในสถานที่แห่งใหม่แล้วในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงคราม และเปิดรับนักศึกษาแบบสหศึกษา โดยนักเรียนหญิงอยู่ประจำ นักเรียนชายเดินเรียน นับแต่นั้นมาโรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงครามก็เจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ได้ขยายเนื้อที่โดยขอใช้ที่ดินโรงเรียนการช่างชายซึ่งอยู่ติดกันทำให้มีเนื้อที่เท่าขนาดเนื้อที่ปัจจุบัน คือ 40 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ป.กศ.สูง) ต่อเนื่องประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) ต่อมาได้ผลิตครูยามฉุกเฉินหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) เปิดสอนในภาคนอกเวลา เรียนระหว่าง 17.00 น. – 20.00 น. ในวันราชการและเปิดหลักสูตรปริญญาตรีวิชาชีพครูภาษาไทย ใน พ.ศ. 2517[1]

ไฟล์:PSRU wangJan.jpgป้ายมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนวังจันทน์)

ยุคที่ 4 วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม

ต่อมาใน พ.ศ. 2504 โรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงคราม ได้ยกฐานะเป็น วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ป.กศ.สูง) ต่อเนื่องประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา(ป.กศ.) ต่อมาได้ผลิตครูยามฉุกเฉินหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) เปิดสอนในภาคนอกเวลา เรียนระหว่าง 17.00 น. – 20.00 น. ในวันราชการและเปิดหลักสูตรปริญญาตรีวิชาชีพครูภาษาไทย ใน พ.ศ. 2517 และในปี พ.ศ. 2524 ได้รับอนุมัติจากสำนักนายกรัฐมนตรีให้ใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ทุ่งทะเลแก้ว จำนวน 1,000 ไร่ เพื่อเตรียมขยายวิทยาลัยออกไป โดยมีโครงการใช้ที่ดินระยะแรกจำนวน 40 ไร่ และวิทยาลัยได้จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนในบริเวณทุ่งทะเลแก้วในปี พ.ศ. 2527[1]

ยุคที่ 5 สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม

ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม สถาบันราชภัฏ แก่วิทยาลัยครู วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม จึงเปลี่ยนเป็น สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม จัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538[1][2]

ยุคที่ 6 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมลงพระปรมาภิไธย ใน "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547" เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และได้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 แล้วนั้น อันมีผลให้ "สถาบันราชภัฏ" เปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏ" และมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์ ยังผลให้สถาบันราชภัฏพิบูลสงครามได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พุทธศักราช 2547[3]

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร