ประวัติ ของ มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล

มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1881 โดยเป็น มหาวิทยาลัยวิทยาลัยลิเวอร์พูล (University College Liverpool) ที่เปิดรับนักศึกษาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1882 [11] ต่อมา ในปี ค.ศ. 1884 ก็ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยวิกตอเรีย ซึ่งในปี ค.ศ. 1894 ศาสตราจารย์โอลิเวอร์ ลอร์ดจได้ทำการส่งวิทยุสาธารณะเป็นครั้งแรกของโลกและอีก 2 ปีถัดมา ก็มีการผ่าตัดด้วยรังสีเอ็กซ์ ครั้งแรกของสหราชอาณาจักรที่นี่ สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล (Liverpool University Press)ก็ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1899 ทำให้เป็นสำนักพิมพ์ที่เก่าแก่เป็นอันดับสามของอังกฤษ ในช่วงต้นนี้ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยจะได้รับประสาธน์ปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยภายนอกได้แก่มหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London) [12] หลังจากนั้น ได้มีพระราชบัญญัติออกโดยรัฐสภาอังกฤษให้มหาวิทยาลัยสามารถให้ปริญญาแก่นักศึกษาได้โดยมีชื่อว่า มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล (University of Liverpool)ไม่กี่ปีต่อมาก็ได้เห็นการพัฒนาที่สำคัญในมหาวิทยาลัย อาทิ เซอร์ ชาร์ลส์ เชอร์ริงตัน (Sir Charles Sherrington) ได้ค้นพบ จุดประสานประสาท (Synapse) รวมถึงงานของศาสตราจารย์วิลเลียม แบลร์-เบลล์ (Professor William Blair-Bell)เกี่ยวกับเคมีบำบัด (chemotherapy) ในการรักษาโรคมะเร็ง

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1930 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 1940 ศาสตราจารย์เซอร์ เจมส์ แชดวิก (Professors Sir James Chadwick) และเซอร์ โจเซฟ รอตเบลต (Sir Joseph Rotblat) ได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาระเบิดปรมาณู โดยเป็นผู้ที่ค้นพบอนุภาคนิวตรอน และในระหว่างปี ค.ศ.1943–1966 อัลลัน ดาวนี ศาสตราจารย์ด้านวิทยาแบคทีเรีย(Bacteriology) ได้ส่วนในการกำจัดโรคไข้ทรพิษ

มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในการจัดตั้งกลุ่มรัสเซลในปี ค.ศ.1994 ซึ่งเป็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัยต่างๆที่มีการสนับสนุนด้านการวิจัยอย่างสูง และกลุ่ม N8 ในปี ค.ศ.2004 ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 นักฟิสิกส์ วิศวกร และช่างเทคนิคหลายคนจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลได้มาส่วนร่วมในการก่อสร้างเครื่องชนอนุภาคขนาดใหญ่ (Large Hadron Collider; LHC) ขององค์กรวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป (European Organization for Nuclear Research) หรือ เซิร์น (Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire) [13] อีกด้วย

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล http://specials.ft.com/ln/ftsurveys/industry/pdf/t... http://specials.ft.com/ln/ftsurveys/industry/scbbb... http://specials.ft.com/universities2001/FT3HLLAN6L... http://www.shanghairanking.com/Institution.jsp?par... http://www.suttontrust.com/reports/UniversityFundr... http://www.topuniversities.com/university-rankings... http://www.topuniversities.com/university-rankings... http://www.topuniversities.com/university-rankings... http://www.grb.uk.com/448.0.html?cHash=5015838e9d&... http://web.archive.org/web/20070628024541/http://w...