อันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย ของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อันดับมหาวิทยาลัย
อันดับในประเทศ(อันดับนานาชาติ)
สถาบันที่จัดอันดับ
CWTS (2016)3(691)
CWUR (2016)3(808)
QS (Asia) (2016)4(104)
QS (World) (2016)3(551-600)
RUR (2016)4(626)
SIR (2016)5(547)
THE (Asia) (2016)3(141-150)
THE (World) (2015)2(601-800)
URAP (2015)3(756)
U.S. News (2017)3(841)

การประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย

ในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย"[11]โดยในภาพรวมผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกลุ่มดัชนีชี้วัดด้านการวิจัยและกลุ่มดัชนีชี้วัดตามด้านการเรียนการสอน ซึ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ในด้านการเรียนการสอนของประเทศไทยได้คะแนน 47.27% จากคะแนนเต็ม 80% และเป็นอันดับ 5 ในด้านการวิจัยของประเทศไทยได้คะแนน 78.68% จากคะแนนเต็ม 100%[12]

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษา ผลปรากฏว่าในการการประเมินครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2553) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการประเมินในระดับดีในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สาขาวิชาการประมง และสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/ สัตวแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สาขาวิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์/ สหเวชศาสตร์ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่[13] และในการประเมินครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2554) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการประเมินในระดับดีมากในสาขาวิชา Material Technology / Material และ Mining Engineering ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์, สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สาขาวิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่[14]

อันดับมหาวิทยาลัย

นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน ได้แก่

การจัดอันดับโดย Centrum voor Wetenschap en Technologie Studies

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย Centrum voor Wetenschap en Technologie Studies หรือ CWTS Leiden University ประจำปี 2016 ของประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารที่ปรากฏชื่ออยู่ในฐานข้อมูล Web of Science database มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ของประเทศไทย และอันดับที่ 691 ของโลก[15]

การจัดอันดับโดย Center for World University Rankings

การจัดอันดับโดย Center for World University Rankings หรือ CWUR ที่มีเกณฑ์การจัดอันดับคือ คุณภาพงานวิจัย ศิษย์เก่าที่จบไป คุณภาพการศึกษา คุณภาพของอาจารย์ และภาควิชาต่าง ๆ ประจำปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ของประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 808 ของโลก[16]

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การจัดอันดับโดย Quacquarelli Symonds

แควกเควเรลลี ไซมอนด์ส หรือ QS จัดอันดับมหาวิทยาลัยในสองส่วน คือ การจัดอันดับเป็นระดับโลก(QS World University Rankings) และระดับทวีปเอเชีย(QS University Rankings: Asia) มีระเบียบวิธีจัดอันดับ ดังนี้

QS World

  1. ชื่อเสียงทางวิชาการ จากการสำรวจมหาวิทยาลัยทั่วโลก ผลของการสำรวจคัดกรองจาก สาขาที่ได้รับการตอบรับว่ามีความเป็นเลิศโดยมหาวิทยาลัยสามารถส่งสาขาให้ได้รับการคัดเลือกตั้งแต่ 2 สาขาขึ้นไป โดยจะมีผู้เลือกตอบรับเพียงหนึ่งสาขาจากที่มหาวิทยาลัยเลือกมา
  2. การสำรวจผู้ว่าจ้าง เป็นการสำรวจในลักษณะคล้ายกับในด้านชื่อเสียงทางวิชาการแต่จะไม่แบ่งเป็นคณะหรือสาขาวิชา โดยนายจ้างจะได้รับการถามให้ระบุ 10 สถาบันภายในประเทศ และ 30 สถาบันต่างประเทศที่จะเลือกรับลูกจ้างที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันนั้น ๆ รวมถึงคุณสมบัติสำคัญที่ต้องการ 2 ข้อ
  3. งานวิจัยที่อ้างต่อ 1 ชิ้นรายงาน โดยข้อมูลที่อ้างอิงจะนำมาจาก Scopus ในระยะ 5 ปี
  4. H-index ซึ่งคือการชี้วัดจากทั้งผลผลิต และ อิทธิพลจากการตีพิมพ์ผลงานทั้งจากนักวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ

โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ของประเทศไทย และอยู่ช่วงอันดับที่ 551-600 ของโลก[17]

น้ำหนักการชี้วัด การแบ่งคะแนนจะต่างกันในแต่ละสาขาวิชา เช่น ทางด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นสาขาที่มีอัตราการเผยแพร่งานวิจัยสูง การวัดการอ้างอิงและh-index ก็จะคิดเป็น 25 เปอร์เซนต์ สำหรับแต่ละมหาวิทยาลัย ในทางกลับกันสาขาที่มีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่น้อยกว่า เช่น สาขาประวัติศาสตร์ จะคิดเป็นร้อยละที่ต่ำกว่าคือ 15 เปอร์เซนต์ จากคะแนนทั้งหมด ในขณะเดียวกันสาขาศิลปะและการออกแบบ ซึ่งมีผลงานตีพิมพ์น้อยก็จะใช้วิธีการวัดจากผู้ว่าจ้างและการสำรวจด้านวิชาการ[18]

QS Asia

  1. ชื่อเสียงทางวิชาการ (30 เปอร์เซนต์) เป้าหมายของตัวชี้วัดนี้เพื่อจะบอกว่ามหาวิทยาลัยใดมีชื่อเสียงในในระดับนานาชาติ
  2. การสำรวจผู้จ้างงาน (20 เปอร์เซนต์)
  3. อัตราส่วนของคณะต่อนักศึกษา (15 เปอร์เซนต์) วัดจากอัตราส่วนของบุคลากรทางการศึกษาต่อจำนวนนักศึกษา และการติดต่อและให้การสนับสนุนของบุคลากรที่มีต่อนักศึกษา
  4. การอ้างอิงในรายงาน (10 เปอร์เซนต์) และผลงานของคณะ (10 เปอร์เซนต์) เป็นการรวมทั้งงานที่อ้างอิงใน scopusและ การตีพิมพ์ผลงานโดยคณะนั้นๆเอง
  5. บุคลากรระดับดุษฎีบัณฑิต (5 เปอร์เซนต์)
  6. สัดส่วนคณะที่เป็นหลักสูตรนานาชาติ (2.5 เปอร์เซนต์) และนักศึกษาต่างชาติ (2.5 เปอร์เซนต์)
  7. สัดส่วนของรับนักศึกษาและเปลี่ยนที่เข้ามาศึกษา (2.5 เปอร์เซนต์) และการส่งนักศึกษาออกไปแลกเปลี่ยน (2.5 เปอร์เซนต์)[19]

โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 4 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 104 ของเอเชีย[20]

การจัดอันดับโดย Round University Rankings

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก Round University Rankings 2016 โดย RUR Rankings Agency ของประเทศรัสเซีย เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (a ranking of leading world universities) ในปี ค.ศ. 2016 มีเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับโดยการพิจารณาตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในระดับสากล 4 ด้าน 20 ตัวชี้วัด คือด้านการสอน (Teaching) 5 ตัวชี้วัด คิดเป็น 40% การวิจัย (Research) 5 ตัวชี้วัด 40% ด้านความเป็นนานาชาติ (International Diversity) 5 ตัวชี้วัด 10% และด้านความยั่งยืนทางการเงิน (Financial Sustainability) 5 ตัวชี้วัด 10% มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 4 ของประเทศไทย และอันดับที่ 626 ของโลก[21]

การจัดอันดับโดย SCImago Institutions Ranking

อันดับมหาวิทยาลัยโดย SCImago Institutions Ranking หรือ SIR ซึ่งเป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งจะไม่ใด้นับเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่จะนับสถาบันเฉพาะทางด้วย เช่น สถาบันเทคโนโลยี วิทยาลัย โรงพยาบาล ในปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 547 ของโลก และเป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย [22]

การจัดอันดับโดย The Times Higher Education

The Times Higher Education หรือ THE มีระเบียบวิธีการจัดอันดับโดยแบ่งตัวชี้วัดเป็น 5 ประการ วัดคะแนนเป็นเปอร์เซนต์[23]การสอน (บรรยากาศการเรียน) คิดเป็น 30 เปอร์เซนต์ ประกอบไปด้วย การสำรวจชื่อเสียงทางวิชาการ 15 เปอร์เซนต์ อัตราส่วนของจำนวนบุคลากรต่อนักศึกษา 4.5 เปอร์เซนต์อัตราส่วนผู้สำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตต่อบัณฑิต 2.25 เปอร์เซนต์ อัตราส่วนบุคลากรระดับดุษฎีบัณฑิต 6 เปอร์เซนต์ รายรับของมหาวิทยาลัย 2.25 เปอร์เซนต์การวิจัย (ปริมาณ รายรับ และชื่อเสียง) 30 เปอร์เซนต์ ประกอบไปด้วย สำรวจความมีชื่อเสียงทุกปี โดย Academic Reputation Survey 18 เปอร์เซนต์รายรับจากงานวิจัย 6 เปอร์เซนต์ ปริมาณงานวิจัย 6 เปอร์เซนต์การอ้างอิง อิทธิพลของงานวิจัย 30 เปอร์เซนต์ทัศนะจากนานาชาติ (บุคลากร นักศึกษาและงานวิจัย) 7.5 เปอร์เซนต์อัตราส่วนนักศึกษาต่างชาติต่อนักศึกษาในประเทศ 2.5 เปอร์เซนต์ อัตราส่วนบุคลากรต่างชาติต่อในประเทศ 2.5 เปอร์เซนต์ ความร่วมมือระดับนานาชาติ 2.5 เปอร์เซนต์การส่งต่อความรู้ 2.5เปอร์เซนต์ การที่มหาวิทยาลัยมีนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ที่นำไปใช้ต่อยอดในภาคอุตสาหกรรมโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และอันดับที่ 601-800 ของโลก[24]

การจัดอันดับโดย University Ranking by Academic Performance

อันดับที่จัดโดย University Ranking by Academic Performance หรือ URAP ปี พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย และอันดับ 756 ของโลก[25] โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง

การจัดอันดับโดย U.S. News & World Report

U.S. News & World Report นิตยสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมากที่สุดของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกล่าสุด “Best Global Universities Rankings 2017” จากการสำรวจมหาวิทยาลัย 60 ประเทศทั่วโลก และมีเกณฑ์จัดอันดับหลายด้าน เช่น ชื่อเสียงการวิจัยในระดับโลก และระดับภูมิภาค สื่อสิ่งพิมพ์ การถูกนำไปอ้างอิง ความร่วมมือระหว่างประเทศ จำนวนบุคลากรระดับปริญญาเอก เป็นต้น โดยมีมหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับ 6 แห่ง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ถูกจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย และอันดับที่ 841 ของโลก[26]

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.cmubook.com/ http://maps.google.com/maps?ll=18.802587,98.951556... http://www.leidenranking.com/ranking/2016/list http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=18.8025... http://roundranking.com/world-map.html http://scimagoir.com/rankings.php?country=THA http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.topuniversities.com/asia-rankings/metho... http://www.topuniversities.com/university-rankings... http://www.topuniversities.com/university-rankings...