ประวัติ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา_น่าน

เดิมชื่อ "โรงเรียนเกษตรกรรมน่าน" ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2481 ซึ่งในขณะนั้นนโยบายการศึกษาของรัฐบาลในสมัยนั้นได้กำหนดให้มีการศึกษาวิชาชีพซึ่งจัดให้เหมาะสมกับภูมิประเภท เช่น กสิกรรม หัตถกรรม และพาณิชการ เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้สำหรับประกอบการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ต่าง ๆ ต่อมาเมื่อระบบการศึกษามีการพัฒนาขึ้นทั้งบุคลากร ครู เครื่องมือ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ ในปี พ.ศ. 2517 โรงเรียนเกษตรกรรมน่าน จึงได้รับการยกฐานะให้เป็น วิทยาลัยเกษตรกรรมน่าน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 วิทยาลัยเกษตรกรรมน่าน ได้แยกตัวจากกรมอาชีวศึกษา และจัดตั้งเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเกษตรน่าน[1] ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พ.ศ. 2518 ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา วิทยาเขตเกษตรน่านได้ก้าวพัฒนาการศึกษาทางด้านอาชีพที่มีคุณภาพทั้งระดับต่ำกว่าปริญญา และ ระดับปริญญา ตลอดจน การวิจัย ส่งเสริมการศึกษาทางด้านวิชาชีพ และให้บริการทางวิชาการแก่สังคม

จนในปี พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ากระหม่อม พระราชทานนามใหม่ว่า “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล”

พ.ศ. 2548 จากแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การบริหารจัดการสู่สถานบันศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐบาลดำเนินการโดยอิสระและมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลจึงได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชงคล ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาน่าน วิทยาเขตน่าน จึงได้รับการสถาปนาเป็น “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน”

ปัจจุบันมีจำนวนนักศึกษากว่า 1,118 คน[2]

ราชมงคลล้านนา น่าน

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร