ประวัติมหาวิทยาลัย ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน_วิทยาเขตขอนแก่น

การก่อตั้งวิทยาลัยในระยะแรกเริ่ม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น เดิมก่อตั้งในสังกัดกองโรงเรียนพาณิชย์และอุตสาหกรรม กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ชื่อ วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น

  • วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 รัฐบาลไทย และรัฐบาลสหพันธ์สารธารณรัฐเยอรมันได้มีการลงนามในการให้ความร่วมมือช่วยเหลือจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางด้านช่างฝีมือให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและเลือกจังหวัดขอนแก่นเป็นที่ตั้ง จึงใช้ชื่อเรียกกันว่า วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่นแต่บุคคลนิยมเรียกกันว่า เทคนิคไทย – เยอรมัน สังกัดกองโรงเรียนพาณิชย์และอุตสาหกรรม กรมอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ โดยจังหวัดขอนแก่นได้นำที่ดินสาธารณประโยชน์ ถ.ศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ซึ่งห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร ทางด้าน ทิศตะวันออก เป็นสถานที่จัดตั้งมีเนื้อที่ 36 ไร่ ต่อมาได้ที่ดินจากโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ และซื้อจากเอกชนอีกร่วมเนื้อที่ปัจจุบัน จำนวน 106 ไร่
  • พ.ศ. 2507 ได้เปิดรับสมัครและสอบคัดเลือกนักศึกษารุ่นแรก มีผู้มาสอบ 306 คน คัดเลือกไว้เพียง 52 คน นักศึกษาปีที่ 1 เรียนและปฏิบัติงานพื้นฐานฝึกฝีมือเหมือนกันทุกแผนก จะแยกตามความถนัดในชั้นปีที่ 2 ซึ่งมีทั้งหมด 5 แผนก ได้แก่ ช่างกลโรงงาน ช่างท่อประสาน ช่างไฟฟ้า และเขียนแบบ เปิดเรียนครั้งแรก โดยขอใช้ห้องเรียนของโรงเรียนการช่างชาย (วิทยาลัยเทคนิคในปัจจุบัน) เป็นสถานที่เรียนชั่วคราวจนถึงเดือนกันยายนในปีเดียวกัน จึงได้ย้ายมาเรียนที่โรงฝึกงานแผนกช่างไฟฟ้า (แผนกช่างท่อและประสานโรงงาน 2 ) เมื่ออาคารเรียน 1 สร้างเสร็จจึงใช้เรียนวิชาสามัญและใช้เป็นอาคารอำนวยการด้วย สำหรับความร่วมเมื่อและความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนั้น ส้นสุดลงเมื่อเดือนมีนาคม 2518 แต่ทางรัฐบาลเยอรมันยังให้ความช่วยเหลือในการจัดหาครุภัณฑ์และอุปกรณ์ ฝึกปฏิบัติสำหรับเครื่องจักรตามโรงงานต่างๆพร้อมทั้งสนันสนุนให้ทุนแก่อาจารย์และนักศึกษาในการไปฝึกอบรบ และศึกษาต่อ ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันเรื่อยมา
  • วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี มาทรงเป็นประธานในพิธีเปิดวิทยาลัยฯ ทรงปลูกต้นประดู่ เพื่อความเป็นสิริมงคล บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยฯ อันเป็นสัญลักษณ์ของความเข้มแข็งและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยฯ จึงถือเอาวันที่ 14 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาตลอดมา
  • พ.ศ. 2513 ได้ทำการเปิดสอนหลังสูตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาช่างกลโรงงานและแผนกวิชาช่างไฟฟ้า ทั้งภาคปกติและภาคนอกเวลา ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 5 แผนกวิชา เรียนระหว่างเวลา 14.20-20.00 น. และวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-15.15 น. ปี 2515 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ และปี 2516 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ภาคนอกเวลาหลักสูตร 2 ปี 6 เดือน ในแผนกวิชาช่างกลโรงงาน ช่างยนต์ ช่างท่อประสาน ช่างไฟฟ้าและช่างก่อสร้าง ต่อมาสัญญาความช่วยเหลือของรัฐบาลเยอรมันสิ้นสุดลงในปี 2518 แต่ยังคงเหลือผู้เชี่ยวชาญไว้ 1 คน และเปิดแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์สูงขึ้นเป็นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ด้วย[1]

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร