ประวัติ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน_วิทยาเขตสกลนคร

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร[1]ก่อตั้งเริ่มแรกเป็น สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร โดยได้รับมอบ ที่ดินทำเลเลี้ยงสัตว์ จำนวนเนื้อที่ 293 ไร่ จากสภาตำบลพังโคนให้เพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.  2535 ต่อมา ส.ส.เอกพร รักความสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร ได้มอบการสนับสนุนงบประมาณเป็นค่าเชื้อเพลิงในการปรับปรุงพื้นที่จำนวน 100,000 บาท ในปี พ.ศ 2536 และในปี พ.ศ.  2537  ท่านยังได้มอบการสนับสนุนเพิ่มอีก 1,000,000 บาทเพื่อสร้างรั้วล้อมรอบพื้นที่และสร้างถนนดินลูกรังถมทางเข้าวิทยาเขตสกลนคร  พร้อมทั้งยังได้รับความร่วมมือจากวิทยาเขตขอนแก่นและวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ศูนย์กลางปัจจุบัน) ในการวางแผนแม่บทออกแบบสิ่งก่อสร้างอาคารต่างๆ สำนักงานชั่วคราวที่วิทยาเขตขอนแก่น

 ปีพ.ศ.  2538  สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร ได้รับการยกฐานะเป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสกลนคร" โดยรับนักศึกษาเข้าศึกษาโดยการไปฝากนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาสัตวศาสตร์ (วท.บ.สัตวศาสตร์)  เรียนที่วิทยาเขตกาฬสินธุ์ และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาช่างก่อสร้าง (ปวส.ช่างก่อสร้าง)  โดยเรียนที่วิทยาเขตขอนแก่น และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการตลาด (ปวส.การตลาด) ให้ไปเรียนที่วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา (ศูนย์กลางฯ)

ปีพ.ศ.  2539  ได้ทำการย้ายสำนักงานชั่วคราวจากวิทยาเขตขอนแก่น มาดำเนินการ ณ ทีอยู่ปัจจุบัน และทำพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารอำนวยการ โดยหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ  (พระราชวิทยาคม) วัดบ้านไร่  ตำบลกุดพิมาน  อำเภอด่านขุนทด  จังหวัดนครราชสีมา พร้อมดำเนินการอย่างเป็นทางการ ต่อมาเปิดสอนหลักสูตร วท.บ. (สัตวศาสตร์)  เรียนที่วิทยาเขตสกลนครที่ตั้งปัจจุบันเมื่อวันที่  30 ตุลาคม 2539

ปีพ.ศ.  2546 นายมาโนชปาลซิงห์ ดาฮูจา และนางสาวภาวีณา ดาฮูจา   ได้รับบริจาคที่ดินจากจำนวน 15 ไร่ 3 งาน 53 4/10  ตารางวา และ 8 ไร่ 1 งาน 66 ตารางวา ให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสกลนครเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาต่อไป

ปีพ.ศ.  2548  สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสกลนครได้รับการยกฐานะประกาศจัดตั้ง "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร" โดยเป็นวิทยาเขตหนึ่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานตั้งแต่บัดนันเป็นต้นมา

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร