ประวัติ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน_วิทยาเขตสุรินทร์

วิทยาเขตสุรินทร์ จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของเสนาบดีกระทรวงธรรมการ (เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี) เมื่อปี พ.ศ. 2470 บริเวณทุ่งนาด้านทิศตะวันออกของกำแพงเมืองชั้นนอกของเมืองสุรินทร์ที่เรียกว่า "ทุ่งยาง" (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ โรงเรียนสุรวิทยาคาร โรงเรียนสิรินธร โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ โรงเรียนเมืองสุรินทร์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ และโรงพยาบาลสุรินทร์) โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนศรีสุรินทร์กสิกรรม เป็นโรงเรียนประถมกสิกรรม สังกัดกรมวิสามัญ กระทรวงธรรมการ เปิดสอนระดับประถมสามัญ (ป.1-3) และประถมวิสามัญ (ป.4-6) มีครูใหญ่คนแรกคือ นายมั่น เพชรศรีสม ได้เปิดทำการเรียนครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2473

ต่อมา พ.ศ. 2481 ได้แยกนักเรียนชั้นประถมวิสามัญมาอยู่ที่ริมฝั่งห้วยเสนง และเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนเกษตรกรรมสุรินทร์" ในปี พ.ศ. 2483 เกิดกรณีพิพาทระหว่างอินโนจีน ฝรั่งเศส กระทรวงกลาโหม จึงขอพื้นที่ดังกล่าวไปจัดตั้งเป็นค่ายทหาร และย้ายโรงเรียนมาที่สถานที่ตั้งปัจจุบัน บนเนื้อที่ 1,500 ไร่

ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการยุบรวมวิทยาลัย โรงเรียนต่างๆ เข้าสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ซึ่งโรงเรียนเกษตรกรรมสุรินทร์ เป็นหนึ่งในกลุ่มโรงเรียนนั้นด้วย จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเกษตรสุรินทร์" และเป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสุรินทร์" ในปี พ.ศ. 2531

การจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่งทั่วประเทศ ในปี พ.ศ. 2548 ทำให้วิทยาเขตสุรินทร์ ได้โอนมาสังกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ดังเช่นปัจจุบัน[1]

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร