เกียรติประวัติ ของ มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช

คณาจารย์

  • กูสทาฟ ลูดวิช เฮิร์ทซ (Gustav Ludwig Hertz) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ประจำปี ค.ศ. 1925 ได้เข้าเป็นอาจารย์คณะฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช ระหว่างปี ค.ศ. 1955 - ค.ศ. 1967
  • ปีเตอร์ เดบาย (Peter Debye) นักเคมีฟิสิกส์รางวัลโนเบล สาขาเคมี ประจำปี ค.ศ. 1936 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยไลพ์ซิชระหว่างปี ค.ศ. 1927 - ค.ศ. 1936
  • ธีโอดอร์ มอมเซน (Theodor Mommsen) นักประวัติศาสตร์รางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ประจำปี ค.ศ. 1902 จากผลงานประวัติศาสตร์โรม ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช ระหว่างปี ค.ศ. 1848 - ค.ศ. 1851
  • นาธาน ซัวเดอร์โบลม (Nathan Söderblom) นักประวัติศาสตร์รางวัลโนเบล ประจำปี ค.ศ. 1930 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันศาสนาเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช ระหว่างปี ค.ศ. 1912 - ค.ศ. 1914
  • วิลเฮลม โอสท์วาล์ด (Wilhelm Ostwald) นักเคมีรางวัลโนเบล สาขาเคมี ประจำปี ค.ศ. 1909 ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์คณะเคมี มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช ระหว่างปี ค.ศ. 1887 - ค.ศ. 1906
  • แวร์เนอร์ ไฮเซินแบร์ก (Werner Heisenberg) ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ประจำปี ค.ศ. 1932 จากแนวคิดเรื่องควอนตัม

นักศึกษา

  1. กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ (ค.ศ. 1646 - ค.ศ. 1716) ปรัชญาเมธี และนักคณิตศาสตร์คนสำคัญ เป็นชาวเมืองไลพ์ซิชโดยกำเนิด และเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยไลพ์ซิช ระหว่างปี ค.ศ. 1661 - ค.ศ. 1666 ปัจจุบันอนุสวรีย์ของ กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ได้จัดวางไว้ ณ ลานด้านหน้าอาคารเรียนคณะเศรษฐศาสตร์
  2. โยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเธอ (ค.ศ. 1749 - ค.ศ.1832) นักประพันธ์ นักวิจารณ์ ปรัชญาเมธีผู้โด่งดังของเยอรมนี สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยไลพ์ซิช ก่อนจะกลับไปใช้ชีวิตการทำงานที่เมืองไวมาร์ ปัจจุบัน อนุสวรีย์ของ โยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเธอ ได้จัดตั้งไว้ ณ ลานด้านหลังศาลาว่าการเมืองหลังเก่า
  3. ริชาร์ด วากเนอร์ คีตกวีที่เกิดในไลพ์ซิชเมื่อ ค.ศ. 1813 แม้จะไปใช้ชีวิตวัยเด็กในเดรสเดน แต่ก็กลับมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช ก่อนจะผันตัวเองไปเป็นนักประพันธ์เพลง และอุปรากรในช่วงที่เหลือของชีวิต
  4. อังเงลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีหญิงของเยอรมันคนแรก และคนปัจจุบัน เป็นศิษย์เก่า คณะฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช ระหว่างปี ค.ศ. 1973 - ค.ศ. 1978

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช http://www.britannica.com/EBchecked/topic/335479/U... http://www.leipzig.de/int/en/stadt_leipzig/zahlen/... http://www.sechshundert.de/ http://www.sept.uni-leipzig.de/University-of-Leipz... http://www.uni-leipzig.de/ http://www.zv.uni-leipzig.de/ http://www.zv.uni-leipzig.de/uni-stadt/universitae... http://www.zv.uni-leipzig.de/uni-stadt/universitae... http://www.newadvent.org/cathen/09140a.htm http://www.newadvent.org/cathen/09140a.htm/