มังกรทะเลใบไม้
มังกรทะเลใบไม้

มังกรทะเลใบไม้

มังกรทะเลใบไม้ (อังกฤษ: Leafy seadragon) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phycodurus eques อยู่ในวงศ์ Syngnathidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกันกับม้าน้ำ โดยถือเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Phycodurusพบทางตอนใต้และตะวันตกของทวีปออสเตรเลีย ถือเป็นปลาเฉพาะถิ่น มักอาศัยอยู่ในกระแสน้ำอุ่นในความลึกตั้งแต่ 3-50 เมตรมีจุดเด่นตรงที่มีครีบต่าง ๆ ลักษณะคล้ายใบไม้หรือสาหร่ายทะเล ทำให้ได้ชื่อว่าเป็นปลาที่มีความสวยงามที่สุดในโลก[2] ซึ่งครีบเหล่านี้ไม่ได้มีไว้ว่ายน้ำแต่ใช้สำหรับอำพรางตัวจากศัตรูและยังใช้หาอาหารอีกด้วย มังกรทะเลใบไม้ใช้ครีบอกในการว่ายน้ำ ซึ่งครีบอกนั้นมีลักษณะใสโปร่งแสง และมองเห็นได้ยากมากเมื่อเวลาปลาเคลื่อนไหว ทำให้มังกรทะเลใบไม้ดูแลยากเมื่อแฝงตัวไปในหมู่สาหร่ายทะเล มีปากที่เหมือนท่อยื่นยาวออกมา ตอนปลายมีที่เปิด กินอาหารจำพวกแพลงก์ตอน, กุ้งและครัสเทเชียนขนาดเล็ก ๆมีความยาวเต็มที่ได้ประมาณ 35 เซนติเมตรการผสมพันธุ์และวางไข่ เนื่องจากมังกรทะเลใบไม้ไม่มีถุงหน้าท้องเหมือนม้าน้ำ แต่ตัวเมียมีไข่ติดอยู่กับใกล้ส่วนหางซึ่งเต็มไปด้วยเส้นเลือดที่มีอยู่มากมายซึ่งพัฒนาขึ้นมาเฉพาะตัวผู้ในช่วงผสมพันธุ์เท่านั้น เมื่อผสมพันธุ์กันตัวเมียจะวางไข่บริเวณหางของตัวผู้ซึ่งจะม้วนงอเข้า ปริมาณไข่ราว 100-200 ฟอง หรือเต็มที่ 250 ฟอง[3] ซึ่งช่วงการผสมพันธุ์วางไข่นั้นจะอยู่ระหว่างเดือนสิงหาคม-มีนาคม ของปีถัดไป ไข่ที่ยึดติดกับส่วนหางของตัวผู้จะได้รับออกซิเจนจากเส้นเลือดของหาง โดยใช้เวลาฟักเป็นตัวราว 4-6 สัปดาห์ เมื่อฟักออกเป็นตัวแล้วปลาตัวผู้จะไม่ดูแลไข่ โดยตัวอ่อนจะใช้เวลาประมาณหนึ่งปีที่จะโตเต็มจนถึงขนาด 20 เซนติเมตร และใช้เวลา 2 ปี ที่จะโตเต็มที่[4] เมื่อยังเป็นวัยอ่อนลำตัวจะใส ไม่มีสี มีอายุขัยประมาณ 6 ปี แต่ก็มีบางตัวที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาพบว่ามีอายุมากถึง 9 ปี นอกจากนี้แล้วผู้ที่ศึกษามังกรทะเลใบไม้พบว่าตำหนิหรือสีแต้มต่าง ๆ ของแต่ละตัวจะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และสิ่งเหล่านี้ส่งผ่านกันได้ตามพันธุกรรม[3]มังกรทะเลใบไม้ จัดเป็นปลาที่มีความอ่อนไหวมาก จึงยากมากที่จะทำการเลี้ยง แม้ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ก็ตาม มีเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นในโลกที่มีปลาชนิดนี้ไว้เลี้ยง และทางการออสเตรเลียก็ได้ออกกฎหมายปลาชนิดนี้ไว้เป็นสัตว์คุ้มครอง โดยห้ามจับหรือมีไว้ในครอบครองเด็ดขาด[5] แต่ได้อนุญาตเป็นการพิเศษให้แก่นายแปง กวอง ซึ่งเป็นเจ้าของฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาทะเลชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลีย จับและครอบครองได้แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น โดยอยุญาตให้จับได้เพียงปีละตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งมังกรทะเลใบไม้ตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลกนั้นก็มาจากการจับของคนผู้นี้เอง[6]

ใกล้เคียง

มังกร มังกรจีน มังกรโกโมโด มังกรหยก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2526) มังกรหยก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) มังกรหยก มังกร พรหมโยธี มังกรหยก ภาค 2 ตอน ตำนานศึกเทพอินทรี มังกรหยก ตอน กำเนิดเอี้ยก้วย (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2526) มังกรกินผัก อายุ 5,000 ปี จู่ ๆ ก็กลายเป็นมังกรไม่ดีไปซะอย่างนั้น

แหล่งที่มา

WikiPedia: มังกรทะเลใบไม้ http://www.underwater.com.au/article.php/id/6631 http://www.premcab.sa.gov.au/emblems/dragon1.htm http://www.fish.wa.gov.au/rec/broc/fishcard/dragon... http://www.amonline.net.au/fishes/students/focus/s... http://www.divegallery.com/Leafy_Sea_Dragon.htm http://www.fusedjaw.com http://www.khonrakpla.com/index.php?lay=show&ac=ar... http://marinebio.org/species.asp?id=31 http://www.redlist.org/search/details.php?species=... http://www.drsuntzu.tk/1/post/2010/06/37.html