มาร์ทีน_บอร์มัน
มาร์ทีน_บอร์มัน

มาร์ทีน_บอร์มัน

มาร์ทีน บอร์มัน (เยอรมัน: Martin Bormann; 17 มิถุนายน ค.ศ. 1900 – 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1945) เป็นข้าราชการที่โดดเด่นในนาซีเยอรมนีในฐานะหัวหน้าของทำเนียบสำนักงานพรรคนาซี (Nazi Party Chancellery) เขาได้รับอำนาจอย่างมากมายโดยใช้ตำแหน่งของเขาในฐานะเลขานุการส่วนตัวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เพื่อควบคุมการหลั่งไหลของข้อมูลข่าวสารและส่งมอบให้กับฮิตเลอร์ เขาได้รับสืบทอดจากฮิตเลอร์ในฐานะผู้นำของพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หลังฮิตเลอร์กระทำอัตวินิบาตกรรม เมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945บอร์มันได้เข้าร่วมองค์กรกองกำลังกึ่งทหารคือ เหล่าทหารเสรี (Freikorps) ในปี ค.ศ. 1922 ในขณะที่กำลังทำงานเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ เขาได้ทำหน้าที่เป็นเวลาเกือบปีในเรือนจำในฐานะผู้สมรู้ร่วมคิดกับเพื่อนของเขา รูด็อล์ฟ เฮิส (ต่อมาได้ผู้บัญชาการของค่ายกักกันเอาช์วิทซ์)ในการสังหาร Walther Kadow บอร์มันได้เข้าร่วมพรรคนาซีในปี ค.ศ. 1927 และชุทซ์ชตัฟเฟิล(เอ็สเอ็ส) ในปี ค.ศ. 1937 เขาได้ทำงานช่วงแรกในงานบริการประกันภัยของพรรค และย้ายไปอยู่ที่สำนักงานรองฟือเรอร์ รูด็อล์ฟ เฮ็สในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1933 ที่เขาได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าของพนักงานบอร์มันได้ใช้ตำแหน่งของเขาเพื่อสร้างระบบราชการอย่างกว้างขวางและเกี่ยวข้องกับตัวเขาให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ในการตัดสินใจ เขาได้รับการยอมรับในวงภายในของฮิตเลอร์และพร้อมกับตัวเขาทุกๆที่,ที่ให้คำบรรยายสรุปและสรุปเหตุการณ์และการเรียกร้อง เขาได้เริ่มทำหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัวของฮิตเลอร์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1935 บอร์มันได้ยอมรับหน้าที่แต่เดิมของเฮ็สกับตำแหน่งผู้นำของทำเนียบสำนักงานพรรค ภายหลังจากเฮ็สได้บินเดี่ยวไปยังอังกฤษ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 เพื่อพยายามเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลอังกฤษ(แต่สุดท้ายถูกจับตัวเข้าคุก) เขาได้อนุมัติขั้นตอนสุดท้ายเกี่ยวกับการนัดหมายของข้าราชการพลเรือน, ที่ได้รับการพิจารณาและอนุมัติกฎหมายขึ้นมาใหม่ และในปี ค.ศ. 1943 ได้มีการควบคุมเรื่องต่างๆภายในประเทศโดยพฤตินัย บอร์มันได้เป็นหนึ่งในผู้นำที่ได้ประหัตประหารเหล่าชาวคริสเตียนอย่างต่อเนื่องและสนับสนุนในการสังหารต่อชาวยิวและชาวสลาฟในพื้นที่ที่ถูกพิชิตโดยเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองบอร์มันได้กลับมาพร้อมกับฮิตเลอร์ที่ฟือเรอร์บุงเคอร์ในกรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1945 ในขณะที่กองทัพแดงของโซเวียตได้รุกเข้าสู่เมือง หลังจากฮิตเลอร์ได้กระทำอัตวินิบาตกรรม บอร์มันและคนอื่นๆได้พยายามที่จะหลบหนีออกจากกรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุมโดยโซเวียต ซึ่งบอร์มันอาจจะฆ่าตัวตายไปแล้วบนสะพานที่อยู่ใกล้กับสถานี Lehrter ศพถูกฝังอยู่ใกล้ๆ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 แต่หาไม่พบและไม่มีการยืนยันว่าเป็นศพของบอร์มันจนกระทั่งปี ค.ศ. 1972 การชันสูตรศพได้รับการยืนยันแล้วในปี ค.ศ. 1998 โดยการตรวจดีเอ็นเอ บอร์มันได้ถูกนำมาพิจารณาคดีลับหลัง(in absentia)โดยศาลทหารระหว่างประเทศในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คในปี ค.ศ. 1945 และ 1946 เขาได้ถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและได้รับตัดสินโทษประหารชีวิตโดยการแขวนคอ

มาร์ทีน_บอร์มัน

ลายมือชื่อ
คู่สมรส แกร์ดา บูค
ก่อนหน้า รูด็อล์ฟ เฮ็ส
พรรคการเมือง พรรคแรงงานชาติสังคมนิยมเยอรมัน (1920–1941)
เกิด 17 มิถุนายน ค.ศ. 1900(1900-06-17)
เวเกอเลเบิน ราชอาณาจักรปรัสเซีย จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 (44 ปี)
เบอร์ลิน
สัญชาติ เยอรมัน

ใกล้เคียง

มาร์ทีน บอร์มัน มาร์ทีนี (ค็อกเทล) มาร์ทีน คร็อกซอลล์ มาร์ทีน ฮินเทอเร็กเกอร์ มาร์ทีน นีเมิลเลอร์ มาร์ทีน ฮาร์นิค มาร์ทีน บรุนเนอร์ มาร์ธา เบียทริซ พอตเตอร์ เวบบ์ มาร์ทีน ไฮน์ริช คลัพโรท มาร์ทีน ไฮเด็กเกอร์